Rechercher dans ce blog

Monday, March 29, 2021

ไทยผลักดันผู้อพยพกว่า 2,000 คนที่หนีเข้าทางแม่ฮ่องสอน หลังกองทัพเมียนมาบินถล่มฐานทัพกะเหรี่ยง - บีบีซีไทย

ชาวบ้านจากเมียนมา

ที่มาของภาพ, Karen humanitarian group handout

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างข้อมูลนักเคลื่อนไหวด้านกิจการเมียนมา 2 กลุ่มว่า ทางการไทยได้ผลักดันชาวบ้านกว่า 2,000 คนที่หลบหนีการสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมากับกองกำลังกะเหรี่ยงเข้ามาฝั่งไทยใน จ.แม่ฮ่องสอน กลับรัฐกะเหรี่ยงทางแล้ว ด้านกลุ่มนักเคลื่อนไหวชี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและไร้มนุษยธรรม

นายเดวิด โอแบงก์ ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Free Burma Rangers ระบุว่า มีชาวบ้าน 2,009 คนถูกผลักดันกลับไปที่ค่ายผู้อพยพอิตูท่า ที่อยู่ในฝั่งเมียนมา เมื่อเวลา 18.15 น.ตามเวลาท้องถิ่น

โปรดเปิดการใช้งาน JavaScript หรือบราวเซอร์ต่างออกไป เพื่ดูเนื้อหานี้

โดยก่อนจะหนีข้ามมายังฝั่งไทยชาวบ้านกลุ่มนี้ได้พักอยู่ที่ค่ายดังกล่าวหลังจากต้องละทิ้งบ้านเรือนเพื่อหลบหนีการโจมตีของกองทัพเมียนมาในช่วงก่อนหน้านี้ การถูกผลักดันครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านหลายคนกลัวว่าจะได้รับอันตรายจากการสู้รบที่ดูเหมือนยังดำเนินอยู่

ชาวบ้านจากเมียนมา

ที่มาของภาพ, Karen humanitarian group handout

นายมาร์ก ฟาร์มาเนอร์ หัวหน้ากลุ่ม Burma Campaign UK เผยกับรอยเตอร์ว่า "ยังคงมีเครื่องบินรบบินเหนือบริเวณดังกล่าวอยู่"

ขณะที่นายสุณัย ผาสุข นักวิจัยอาวุโสของฮิวแมนไรท์วอทช์ ประจำประเทศไทย ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า "การกระทำที่ไร้หัวใจและผิดกฎหมายของไทยจะต้องยุติลงเดี๋ยวนี้"

เจ้าหน้าที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนคนหนึ่งที่ไม่ขอเปิดเผยชื่อบอกกับรอยเตอร์ว่า ชาวบ้านกลุ่มนี้ไม่ได้ถูกผลักดันกลับประเทศ "พวกเขายังอยู่ในเขตไทย บริเวณริมแม่น้ำสาละวิน แต่ไม่ได้เข้ามาใกล้กว่านั้น และอยู่ในการควบคุมของทหารไทย"

ทหารพรานไทยสกัดผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงที่ชายแดนไทย

ที่มาของภาพ, Karen humanitarian group handout

ช่วงบ่ายของ 29 มี.ค. เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง จ.แม่ฮ่องสอน กล่าวกับบีบีซีไทยว่า ชาวบ้านจากเมียนมาอพยพหนีภัยมายังฝั่งไทยใน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน กว่า 2,000 คน หลังกองทัพเมียนมาโจมตีทางอากาศฐานที่มั่นของกองกำลังกะเหรี่ยงเมื่อ 28 มี.ค.

"(ผู้อพยพ) ประมาณ 2,000 กว่าคน ยังอยู่ในแนวตะเข็บชายแดน ต.แม่คง อยู่ระหว่าง อ.แม่สะเรียง กับ อ.สบเมย"

ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ฝั่งไทยได้เข้าไปดูแล และจำกัดให้อยู่แต่บริเวณที่กำหนด ป้องกันการเคลื่อนย้าย โดยในวันที่ 30 มี.ค. เวลา 15.00 น.ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะแถลงข่าวเพื่อธิบายถึงแผนรับมือผู้อพยพ

โปรดเปิดการใช้งาน JavaScript หรือบราวเซอร์ต่างออกไป เพื่ดูเนื้อหานี้

ก่อนหน้านี้ เมื่อ 29 มี.ค. นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เตรียมความพร้อมในทุกด้านเพื่อรองรับสถานการณ์ หลังจากที่มีประชาชนชาวกะเหรี่ยงตามพื้นที่ชายแดนในประเทศเมียนมาบางส่วนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในพื้นที่ข้ามฝั่งมายังแนวตะเข็บชายแดนของประเทศไทยแล้ว โดยเข้ามาอยู่ในจุดแรกรับซึ่งกองกำลังนเรศวรควบคุมดูแลเป็นการรับเบื้องต้นโดยทางทหารก็มีกระบวนการและมาตรการดูแล หากสอบสวนแล้วอาจจะแค่ตื่นตระหนกหรือหวาดกลัวก็จะให้กลับเข้าไปในเขตประเทศเมียนมาที่อยู่อาศัยเดิม แต่ถ้าหากผู้อพยพเหล่านี้ได้รับผลกระทบถึงขั้นอาจจะเสี่ยงต่อชีวิตทางเราก็จะดูแลไว้ในห้วงระยะเวลาหนึ่งตามหลักมนุษยธรรมตามสมควร และผู้อพยพเหล่านี้ยังอยู่ในการดูแลของทหาร ยังไม่ได้ส่งต่อให้ฝ่ายปกครองจังหวัดแต่เราก็ต้องเตรียมความพร้อมทุกด้านไว้ ส่วนความชัดเจนจากกระทรวงมหาดไทยอีกครั้ง เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติ ส่วนจำนวนผู้อพยพที่เข้ามาในเขตไทยยังไม่ชัดเจนทางทหารเป็นผู้ตรวจสอบอยู่น่าจะมีจำนวนหลายร้อยคน ผู้อพยพเหล่านี้เข้ามาในเขตไทย 2 พื้นที่ตามแนวชายแดน อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย

ชาวบ้านจากเมียนมาอพยพหนีภัยการสู้รบมาขึ้นฝั่งที่ตำบลแม่สามแลบ อำเภอแม่สะเรียง

ที่มาของภาพ, KNU handout

ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวต่อไปว่า ผู้อพยพที่เข้ามาในเขตไทย ยังไม่ได้เข้ามาพื้นที่ชั้นในยังอยู่แนวตะเข็บชายแดนโดยทหารต้องควบคุมดูแลในเรื่องมาตรการสาธารณสุขด้วย ส่วนผู้ที่รองรับทางทหารโดยกองกำลังนเรศวรได้เตรียมพื้นที่ไว้หมดแล้วตลอดตะเข็บชายแดน ส่วนผู้อพยพที่เข้ามาอยู่ในเขตไทยยังไม่ได้รับรายงานข้อมูลว่ามีผู้เจ็บป่วยหรือไม่ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างทหารไทยกับทหารเมียนมาเรามีความสัมพันธ์กันดีในระดับพื้นที่ ส่วนอาหารการกินทราบว่าผู้หนีภัยจากการสู้รบมีเสบียงอาหารติดตัวมาบางส่วน และจะสามารถดำรงชีพอยู่ได้หลายวัน ส่วนการสู้รบระหว่างชนกลุ่มน้อยกะเหรี่ยงเคเอ็นยู กับทหารเมียนมา ยังไม่มีรายงานกระสุนปืนเข้ามาตกในเขตไทยแต่อย่างใด โดยทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้สั่งการให้นายอำเภอแต่ละอำเภอประสานงานกับฝ่ายทหารอย่างใกล้ชิดเพื่อดูแลความปลอดภัยของประชาชนไทยตามแนวชายแดน

ชาวบ้านจากเมียนมาอพยพหนีภัยการสู้รบมาขึ้นฝั่งที่ตำบลแม่สามแลบ อำเภอแม่สะเรียง

ที่มาของภาพ, KNU handout

ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อมีเหตุการณ์สู้รบกันในเมียนมา ไทยในฐานะที่มีพรหมแดนติดกันก็ต้องรับมือการอพยพเข้ามา โดยจะดูแลตามตามหลักสิทธิมนุษยชน

"เราก็ไม่อยากให้มีการอพยพเข้ามาในพื้นที่ของเรา แต่เราก็ดูแลเรื่องของสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย"

ชาวบ้านซ่อนตัวในเขตเมียนมาริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน

ที่มาของภาพ, KNU handout

หลักสากลไม่ผลักดันผู้ลี้ภัยไปสู่อันตราย

น.ส.พรสุข เกิดสว่าง ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน กล่าวว่า ตามกฎจารีตประเพณีระหว่างประเทศจะต้องไม่ผลักดันผู้ลี้ภัยไปสู่อันตราย หากทำเช่นนั้นจะละเมิดประเพณีนี้ แท้จริงแล้ว ผู้อพยพไม่อยากอยู่ในสภาพนี้ หากกองทัพเมียนมาหยุดปฎิบัติการ ชาวบ้านก็พร้อมกลับไป ซึ่งไทยควรเจรจากับเมียนมาเพื่อให้ยุติปฎิบัติการมากกว่าการผลักดันให้ชาวบ้านกลับไป ระยะต่อไปทหารก็ควรปล่อยให้เป็นงานของกระทรวงมหาดไทย สำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ประสานกับเอ็นจีโอในพื้นที่

"รัฐไทยมักอ้างว่าไม่อยากเข้าไปยุ่งกับการเมืองของพม่า แต่เรื่องนี้ส่งผลกระทบตามแนวชายแดน เพราะเราเป็นคนที่รองรับผู้ลี้ภัย เราจึงมีสิทธิเจรจากับเขาหรือไม่" น.ส. พรสุขกล่าว

ชาวบ้านซ่อนตัวในเขตเมียนมาริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน

ที่มาของภาพ, KNU handout

ล่าสุด มูลินิธิเพื่อนไร้พรมแดนแถลงผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก ระบุว่า รัฐไทยละเมิดกฎจารีตประเพณีระหว่างประเทศ

"เพื่อนไร้พรมแดนได้รับรายงานว่า ผู้ลี้ภัยจากชุมขนแอ้ดูท่า ถูกกดดันให้ข้ามกลับไปรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่าแล้ว แม้ตลอดวันนี้จะมีการโจมตีทางอากาศหลายครั้งไม่ห่างจากชุมชนมากนัก และกองทัพพม่ายังใช้โดรนบินสำรวจเหนือบริเวณ

ผู้ลี้ภัยที่ถูกผลักดันกลับไม่กล้าเข้าไปพักในบ้านของตนเอง แต่หลบอยู่ตามริมน้ำและในป่าด้วยความหวาดกลัว

การกระทำของรัฐไทยถือเป็นการละเมิดกฎจารีตประเพณีระหว่างประเทศ Non-refoulement ว่าด้วยหลักการไม่ผลักผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย

ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องรีบผลักให้ครอบครัว ซึ่งมีทั้งเด็กคนชรา และคนป่วย กลับไปเผชิญกับการประหัตประหารของกองทัพพม่าในขณะนี้"

ชาวบ้านซ่อนตัวในเขตเมียนมาริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน

ที่มาของภาพ, KNU handout

คนไทยในเมียนมา

วานนี้ (28 มี.ค.) นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึง การประกาศเตือนชาวไทยในเมียนมาที่อาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในเมียนมา ว่าได้เตรียมแผนช่วยเหลือคนไทยในเมียนมาไว้อยู่แล้ว แต่จากการประเมินสถานการณ์ ยังไม่ถึงระดับเตือนให้มีการอพยพ

ในปัจจุบันยังมีคนไทยที่อยู่ในเมียนมา ตามฐานข้อมูลของสถานเอกอัครราชทูตฯ จำนวน 704 คน อยู่ในนครย่างกุ้ง 447 คน และเมืองอื่น ๆ อีก 257 คน ซึ่งจนถึงขณะนี้ ยังไม่ได้รับรายงานว่า มีคนไทยในเมียนมาได้รับอันตรายจากเหตุการณ์ทางการเมือง

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า นับตั้งแต่เกิดสถานการณ์ทางการเมืองในเมียนมา เมื่อวันที่ 1 ก.พ. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง ได้ติดต่อสอบถามความเป็นอยู่กับชุมชนไทยในเมียนมาอย่างใกล้ชิด และแนะนำให้คนไทยหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการชุมนุม

นอกจากนี้นายธานี กล่าวว่า มีการจัดเตรียมแผนช่วยเหลืออพยพคนไทยไว้อยู่แล้ว แต่จากการประเมินสถานการณ์ในเมียนมา ยังไม่ถึงระดับที่ต้องเตือนให้มีการอพยพกลับไทย

นายก ประยุทธ์ พม่า กะเหรี่ยง

Let's block ads! (Why?)


ไทยผลักดันผู้อพยพกว่า 2,000 คนที่หนีเข้าทางแม่ฮ่องสอน หลังกองทัพเมียนมาบินถล่มฐานทัพกะเหรี่ยง - บีบีซีไทย
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...