Rechercher dans ce blog

Thursday, April 1, 2021

ทางล่ม ทางเลือก ทางรอด สังคม-เศรษฐกิจไทยในทศวรรษใหม่ - กรุงเทพธุรกิจ

2 เมษายน 2564 | โดย อภิชาติ ประสิทธิ์นฤทธิ์ | คอลัมน์ ทัศะจากผู้อ่าน

5

เปิดบทวิเคราะห์ทางล่ม ทางเลือก ทางรอด เศรษฐกิจและสังคมไทยในทศวรรษใหม่ของประเทศไทยเป็นอย่างไร อะไรคือกุญแจสำคัญที่ที่ไขประตูสู่ความสำเร็จของประเทศไทย

โลกทั้งใบของโรคโควิด-19 พาเราถอยหลัง หรือย่อเพื่อกระโดด คำสวยๆ เรื่องพลิกวิกฤติเป็นโอกาส คนที่ชอบคำนี้คือพวกที่มี growth mindset และทำทุกอย่างเพื่อวิ่งไปหาแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ หลายประเทศรวมกันอยู่ภายในอุโมงค์โควิดด้วยกัน 

วัคซีนคือแสงสว่าง แต่เป็นแสงสว่างเดียวหรือไม่ เรามาตั้งคำถามร่วมกัน ประเทศไทยเราอยู่ตรงไหนในอุโมงค์ ปากหรือปลายอุโมงค์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่ที่มุมมอง 

ต่างชาติมองมาที่เรา “ยูยืนอยู่ปลายอุโมงค์แล้วทำไมไม่เดินออกมา จะวิ่งกลับเข้าไปทำไม” ส่วนเราเองพยายามที่จะคุยกันอย่างมากว่า “แสงสว่างข้างหน้าเราคือภาพหลอน มันไม่จริง เรายังหลงทางอยู่ หาทางใหม่เถอะ” ตอนนี้เราเลยยังวนเวียนอยู่ในเขาวงกตแห่งความไม่เชื่อมั่นและหมดศรัทธา โดยสรุปคือเรากำลังอยู่ที่ไหนและทำอะไรอยู่ 

ปรัชญาแนวคิดแบบไทยเราคือ ความไม่เที่ยงเป็นกฎธรรมดาของธรรมชาติ มีเกิดดับ เปรียบเทียบก็เหมือน digital 0101 แล้วอะไรคือการหลุดพ้น ทฤษฎีฉบับแนวคิดพระธุดงค์ นายพราน และสตาร์ทอัพ มีจุดร่วมที่เชื่อมโยง (connect the dot) คือ No Comfort Zone วัยรุ่นอาจเรียกว่าชีวิตคือการผจญภัย ความเสี่ยงคือสัจธรรม 

พระ นายพราน และสตาร์ทอัพ ต่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ต้องบิณฑบาตบนเส้นทางที่เคยจึงคิดว่าจะอยู่รอด นายพรานถ้าล่าสัตว์ไม่ได้ก็มีของป่าประทังชีพ ส่วนสตาร์ทอัพมีชีวิตเพื่อ pitching ชนะคืออยู่รอด แพ้คือสู้ใหม่

หลักสำคัญจากบทเรียนในอุโมงค์แห่งโควิด-19 ในฉบับภาษาไทยจะให้บทเรียนอะไรกับเราได้บ้าง มาลอง deep learning ไปด้วยกันกับ 10 บทเรียน live and learn with Covid-19

1.ร่วมมือ คนเดียวหัวหาย รวมกันเราอยู่ ทะเลาะกันตายหมู่ Collaboration นักการเมืองกำลังสะท้อนภาพประเทศเราเป็นอย่างไร “ไม่มีอะไรจะทำร้ายเธอ ได้เท่ากับเธอทำตัวของเธอเอง” ประเพณี “ลงแขก” น้ำใจคืออัตลักษณ์คนไทย (เฉพาะในอดีตหรือไม่) คนรุ่นใหม่ คนเมืองคงเข้าใจความหมายนี้จากขาวเป็นดำ เพราะเราใช้คำจากบวกเป็นลบ ลงแขกเป็นรุมโทรม แต่ความหมายที่แท้จริงคือ “เชิญมารวมร่วมใจ” (จากคำในบทเพลงเกี่ยวข้าว) นั่นคือความร่วมมือ ช่วยเหลือกันและกัน

2.แบ่งปัน Sharing ไม่เหลืออะไรจะแบ่งแล้ว จะกินยังไม่มีเลย คงแวบขึ้นมา ณ บัดดล มีกรณีศึกษาของคนเร่ร่อนไร้บ้าน ที่เราสงสัยว่าจะมีอะไรแบ่งปันกันไหม อาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม สตางค์ คือคำตอบแต่ไม่สำคัญเท่าการแบ่งที่เรียกว่าประสบการณ์ สิ่งที่ดูไม่มีมูลค่าสำหรับคนทั่วไป แต่มีคุณค่ามากพอที่จะทำให้ชีวิตหนึ่งชีวิตยังมีลมหายใจ จากพี่สู่น้อง รุ่นสู่รุ่น 

แล้วคนไทยเราจะสร้าง Sharing Ecosystems อย่างไร เริ่มที่เรียนรู้อดีต เรียนรู้จากวัฒนธรรม เราเคยแบ่งปันกันในอดีต เรามีตัวตนของเรา ต้องพึ่งพาคนที่มีเมตตา ที่ยึดในพรหมวิหาร 4 มาเป็นทีมตั้งต้นให้

3.สร้างสรรค์ (Creative Economy) ความคิดสร้างสรรค์ที่ตอบตรงความต้องการของประชาชน มุ่งเน้นการสร้างเสริมกับเยาวชน ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งสวยงาม ต้องช่วยกันเปิดใจ เปิดมุมมองและรับฟังสิ่งที่จะเป็นอนาคตของลูกหลาน ผู้ใหญ่จะต้องเป็นผู้สนับสนุนและเข้าใจโลกปัจจุบัน เศรษฐกิจสร้างสรรค์คืออนาคตของไทยเรา

4.ทันสมัย (Modernism) อยากกินอะไรเพียงแค่กดปลายนิ้ว จะซื้อหาอะไรเพียงแต่สั่งและรออยู่บ้าน สิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นจาก Digital Technology ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา จับจ่าย การแพทย์พยาบาล ธุรกิจการค้าและบันเทิง จำเป็นต้องเข้าใจเรื่อง Digital Transformation, Digital literacy & Data Driven เพราะโลกเราได้กลายเป็น Global Community 

ตลาดธุรกิจถูกทำลายเส้นกั้นระหว่างประเทศชาติ เพราะเดิมเราค้าขายผ่านสกุลเงิน ซึ่งมีความผันผวน และค่าของเงินที่ลดลง สิ่งที่จะเพิ่มมูลค่ามากขึ้นแบบ Exponential นั่นคือ Digital Assets, Cryptocurrency 

สิ่งต่างๆ เบื้องต้นเหล่านี้ นี่คือเหตุปัจจัยอย่างรุนแรงต่อการก้าวเดินไปข้างหน้าแบบมีโควิด-19 เป็นแรงขับ การเรียนรู้วิทยาการแห่งศตวรรษที่ 21 และรัฐจำเป็นจะต้องมีความสามารถในการเป็น Incubation ที่จะต้องส่งเสริม สนับสนุนและเรียนรู้ไปด้วยกัน

นี่คือ 4 ปัจจัยสำคัญที่ถอดจากบทเรียนวิกฤติโควิด-19 ซึ่งจะเป็นกุญแจ 4 ดอกสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จของประเทศไทย เรายังเหลือกุญแจความสำเร็จอีก 6 ดอก ฝากติดตามได้ในบทความตอนที่ 2

Let's block ads! (Why?)


ทางล่ม ทางเลือก ทางรอด สังคม-เศรษฐกิจไทยในทศวรรษใหม่ - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...