Rechercher dans ce blog

Tuesday, May 4, 2021

'ตราสารหนี้ภาคเอกชน' อีกหนึ่งทางเลือกแทนพันธบัตร - กรุงเทพธุรกิจ

5 พฤษภาคม 2564 | โดย มร.โจเซฟ คาเซราส | คอลัมน์ Global Investment Partners

108

ทำความรู้จัก "ตราสารหนี้ภาคเอกชน" มีประโยชน์และความเสี่ยงอย่างไร? ทำไมถึงเป็นอีกทางเลือกของนักลงทุนในสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติ และต้องการมองผลตอบแทนที่มากขึ้น

  • เรื่องน่าคิดของนักลงทุนตราสารหนี้ในปัจจุบัน

ในสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติ นักลงทุนต่างมองหาผลตอบแทนที่มากขึ้น ทำให้มีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยหันไปลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง โดยคาดหวังว่าจะได้ผลตอบแทนเหมือนที่เคยได้รับในอดีตจากตราสารหนี้ความเสี่ยงต่ำ อย่างไรก็ดีตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง ถึงแม้จะให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่มากขึ้นเช่นกัน และอาจจะทำให้พอร์ตการลงทุนขาดทุนได้ หากบริหารอย่างไม่ระมัดระวัง

นอกจากความเสี่ยงด้านเครดิตแล้ว การลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง นักลงทุนอาจจะต้องเจอกับการขาดทุนแบบ mark to market (การคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยให้สะท้อนราคาตลาดที่เป็นธรรม) จากการผันผวนของดอกเบี้ยนโยบาย โดยในสิบปีที่ผ่านมานักลงทุนได้รับประโยชน์จาก mark to market ที่สูงขึ้นเพราะว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลง เนื่องจากตราสารหนี้ส่วนใหญ่จ่ายดอกเบี้ยแบบคงที่ อย่างไรก็ตามเมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายกลับมาสูงขึ้น สิ่งที่ตรงกันข้ามสามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน

  • แนะนำตราสารหนี้ภาคเอกชนเพื่อเป็นทางเลือกแทนพันธบัตร

ในสภาวการณ์เช่นนี้ นักลงทุนอาจจะลองพิจารณาทางเลือกอื่นแทนตราสารหนี้ เช่น private credit การลงทุนที่กำลังเติบโตประเภทนี้สามารถแก้ปัญหาที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ได้ โดยมีอัตราสูญเสียที่ต่ำกว่าและมีอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ซึ่งจะทำให้นักลงทุนได้รับดอกเบี้ยที่สูงขึ้น หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้น โดยพื้นฐานแล้วในโลกของ private credit นักลงทุนทำหน้าที่แทนธนาคารและเจรจาปล่อยกู้ทวิภาคีให้แก่ผู้กู้โดยตรง วิธีการเช่นนี้ทำกันมากในสหรัฐฯ เนื่องจากธนาคารปล่อยกู้ให้บริษัทลดลงเกือบ 50% ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างที่ธนาคารให้ความสำคัญกับเงินกู้และออกพันธบัตรให้บริษัทขนาดใหญ่ จึงเป็นการเปิดช่องว่างให้นักลงทุนเอกชน สามารถเข้ามามีบทบาทในการปล่อยกู้ให้บริษัทขนาดกลางได้ บริษัทขนาดกลางซึ่งมีเป็นแสนๆราย หรือที่เรียกกันว่า US Middle Market มีขนาดถ้าเทียบเป็น GDP ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก รองจากสหรัฐฯและจีน และเป็นการเปิดโอกาสสำหรับผู้ให้กู้ภาคเอกชนได้เป็นอย่างดี

  • ประโยชน์และความเสี่ยงของตราสารหนี้ภาคเอกชน

หนึ่งในประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของ private credit คือจัดเป็นเงินกู้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพราะว่า private credit เปรียบเสมือนเงินกู้ของธนาคาร เงินกู้เหล่านี้เป็นเงินกู้ที่เจรจากันในแบบทวิภาคี โดยมีพันธสัญญาและการคุ้มครองผู้ให้กู้หากเกิดปัญหาด้านเครดิต ความคุ้มครองเหล่านี้จะช่วยป้องกันความเสี่ยงได้อย่างดีหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น

ในที่ผ่านมา ตราสารหนี้ความเสี่ยงสูงมีอัตราสูญเสียมากกว่า private credit ถึง 5 เท่า ตั้งแต่ปี 2005 ตราสารหนี้ความเสี่ยงสูงมีอัตราสูญเสีย -1.7% ต่อปี ในขณะที่ private credit มีอัตราสูญเสียเพียง -0.3% ต่อปีในช่วงเวลาเดียวกัน

ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า private credit เป็นอัตราลอยตัว จึงตัดเรื่องการขาดทุนแบบ mark to market ไปได้หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงขึ้น นอกจากนี้ผลตอบแทนของ private credit มักจะสูงกว่าประเภทอื่นๆในตลาดตราสารหนี้ทั่วไป แม้ว่า private credit จะน่าสนใจ แต่ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน จึงต้องมั่นใจว่าเงินกู้นั้นมีแหล่งที่มาและได้รับการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ โดยผู้มีประสบการณ์สูง หากไม่ได้รับการบริหารที่ดีโอกาสเสี่ยงที่จะสร้างความเสียหายต่อนักลงทุนจะรุนแรงมาก

private credit ต่างจากตราสารหนี้ในแง่ที่ว่า มันไม่มีสภาพคล่องที่จะซื้อและขายในตลาดได้ทันที private credit ส่วนใหญ่จะถูกจัดสรรผ่านกองทุนต่างๆ ที่มีสภาพคล่องแตกต่างกันไป หากท่านสนใจข้อมูลมากกว่านี้ท่านสามารถสอบถามที่ปรึกษาทางการเงินที่น่าเชื่อถือของเรา เพื่อจะได้เข้าใจว่าการจัดสรรตราสารหนี้ภาคเอกชนเหมาะกับพอร์ตการลงทุนของท่านหรือไม่

Adblock test (Why?)


'ตราสารหนี้ภาคเอกชน' อีกหนึ่งทางเลือกแทนพันธบัตร - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...