Rechercher dans ce blog

Monday, June 7, 2021

"ดร.สามารถ" เผย ช็อก! รถไฟทางคู่สายเหนือ-สายอีสาน เคาะประมูลสูงห่างสายใต้ลิบ! - กรุงเทพธุรกิจ

8 มิถุนายน 2564

133

"ดร.สามารถ" เผย ช็อก! รถไฟทางคู่สายเหนือ-สายอีสาน เคาะประมูลสูงห่างสายใต้ลิบ!

การประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสานช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม คงเป็นการประมูลหนึ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับผู้คนจำนวนมากบนโลกใบนี้ เนื่องจากราคาที่ได้จากการประมูลต่ำกว่าราคากลางเพียงนิดเดียวเท่านั้น อีกทั้ง ยังต่ำกว่าราคากลางเป็นสัดส่วนที่เท่ากันอีกด้วย นั่นคือแค่ 0.08% เท่านั้น พูดได้ว่า ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ!

การประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสานสร้างความประหลาดใจอย่างไร?

1. จำนวนสัญญาการประมูลเท่ากับจำนวนผู้รับเหมาขนาดใหญ่พอดี

สายเหนือแบ่งการประมูลออกเป็น 3 สัญญา ส่วนสายอีสานแบ่งออกเป็น 2 สัญญา รวมเป็น 5 สัญญา เท่ากับจำนวนผู้รับเหมาขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าประมูลได้พอดี ซึ่งในการประมูลที่เกิดขึ้นก็มีผู้รับเหมาขนาดใหญ่เข้าประมูล 5 ราย และชนะการประมูลทุกราย

2. ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางเท่ากัน

2.1 สายเหนือ ประมูลเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564

ราคากลาง 72,918 ล้านบาท ราคาที่ได้จากการประมูล 72,858 ล้านบาท นั่นคือประหยัดค่าก่อสร้างได้เพียง 60 ล้านบาท เท่านั้น คิดเป็น 0.08%

2.2 สายอีสาน ประมูลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564

ราคากลาง 55,456 ล้านบาท ราคาที่ได้จากการประมูล 55,410 ล้านบาท นั่นคือประหยัดค่าก่อสร้างได้แค่ 46 ล้านบาท เท่านั้น คิดเป็น 0.08% เท่ากันกับสายเหนืออย่างน่ากังขายิ่ง

เมื่อเปรียบเทียบกับการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ช่วงนครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ในปี 2560 พบว่า สายใต้ประหยัดค่าก่อสร้างได้มากกว่า กล่าวคือสายใต้มีราคากลาง 36,021 ล้านบาท ราคาที่ได้จากการประมูล 33,982 ล้านบาท นั่นคือประหยัดได้มากถึง 2,039 ล้านบาท คิดเป็น 5.66%

หากการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสานสามารถประหยัดค่าก่อสร้างได้เท่ากับสายใต้ นั่นคือ 5.66% จะทำให้ประหยัดค่าก่อสร้างได้มากถึง 7,266 ล้านบาท (5.66% X ค่าก่อสร้างสายเหนือรวมกับสายอีสาน) แต่ในความเป็นจริง การประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสานประหยัดค่าก่อสร้างได้เพียง 106 ล้านบาท เท่านั้น (60+46)

เหตุที่การประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสานประหยัดค่าก่อสร้างได้น้อยกว่าสายใต้มากอาจเป็นเพราะการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไม่นำทีโออาร์ (ข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง) ของสายใต้มาใช้ในการประมูลสายเหนือและสายอีสาน จึงทำให้ประหยัดค่าก่อสร้างได้น้อยมาก น้อยกว่าที่ควรจะประหยัดได้ถึง 7,160 ล้านบาท (7,266-106) น่าเสียดายอย่างยิ่ง เงินจำนวนมากขนาดนี้สามารถนำไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้ไม่น้อย

อะไรเป็นเหตุให้ ร.ฟ.ท. เปลี่ยนทีโออาร์ในการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน งานนี้ต้องติดตามกันต่อไป

Adblock test (Why?)


"ดร.สามารถ" เผย ช็อก! รถไฟทางคู่สายเหนือ-สายอีสาน เคาะประมูลสูงห่างสายใต้ลิบ! - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...