เพราะคนฉีดวัคซีนไปแล้วจะนึกว่าปลอดภัย กลายเป็นแพร่ให้หลายคนต่อ โดยเฉพาะคนที่ทำงานสาธารณะ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่ถ้าหลุดเกิดยังติด การป้องกันไม่ให้ตาย ตอนนี้ไม่ขึ้นกับภูมิในน้ำเหลืองอย่างเดียว แต่มีระบบอื่นโดยเฉพาะระบบเซลล์ร่วมด้วย
และ...เป็นเหตุผลสำคัญ สำหรับการที่ต้องแน่ใจว่าได้วัคซีนที่ได้ผล เมื่อฉีด 2 เข็มไปแล้ว และสามารถมีฤทธิ์ต่อสู้กับสายพันธุ์...อัลฟา เดลตา เดลตาพลัส เบตา และอื่นๆ...“ห้ามพูดว่า ตอนนี้สายพันธุ์น่ากลัว ยังมีน้อย ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ เพราะในเวลาไม่นานก็แพร่ไปทั่ว”
เงื่อนปมปัญหาใหญ่ “โควิด-19” ยังไม่เห็นแสงสว่างอย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่ในทางธรรมก็ยังมีเงื่อนปัญหาชัดขึ้น มากขึ้นในเรื่อง “จุดเสื่อมนักบวช เลยชวดศรัทธา”
พระมหาสมัย จินฺตโฆสโก ประธานมูลนิธิกลุ่มแสงเทียน เจ้าอาวาสวัดบางไส้ไก่ กทม. บอกว่า บัดนี้ก็ย่างเข้าสู่เทศกาลเข้าพรรษาของพระภิกษุในพระพุทธศาสนาและในอดีตที่ผ่านมาได้กลายเป็นข่าวเป็นประเด็นทางศาสนามาอย่างต่อเนื่องจากการที่มีบุคคลบางคนทั้งในรูปของนักบวชในพระพุทธศาสนาและไม่อยู่ในพระพุทธศาสนา มีความเชื่อความศรัทธาด้วยตนเองว่าแนวความคิดและคำสอนของตนเองถูกต้อง
...สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติเห็นผล จนเกิดการตรวจสอบ ในที่สุดก็กลายเป็นการ “หลอกลวง” บ้าง กลายเป็นความเชื่อมั่นของส่วนบุคคลบ้าง สุดท้ายก็จบตรงที่ “ไม่มีความเป็นจริง” นั่นเอง
“ความเชื่อ” และ “ความศรัทธา” เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนมีอิสระในการนำไปประพฤติปฏิบัติได้ตราบใดที่ไม่สร้างความเดือดร้อนความเสียหาย ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง จนเกิดลัทธิต่างๆขึ้นมามาก ผิดปกติ เกิดในพื้นที่แห่งโน้นแห่งนั้นของประเทศบ้าง จากกรณีหนึ่งก็ไปสู่อีกกรณีหนึ่ง
ทำให้มองเห็นได้ชัดเจนว่าเรื่องของ “ความเชื่อ” นี้คงห้ามกันไม่ได้ แต่ความศรัทธาที่เกิดขึ้นตามมานี้จะต้องประกอบไปด้วย “สติ” และ “ปัญญา” ถ้าเกิดความเชื่อจากเปลือกนอกเพียงอย่างเดียว สุดท้ายก็มักกลายเป็นการ “ถูกหลอกลวง” ไปในที่สุด บางกรณีผู้เสียหายถูกหลอกลวงเอาทรัพย์สินเงินทอง บางกรณีผู้เสียหายถูกล่วงละเมิดทางเพศ บางกรณีก็กลายเป็น “เหยื่อ” ให้เป็น “นกต่อ” จนกว่าจะรู้ความจริงก็สายแล้ว
พระมหาสมัย ย้ำว่า กรณีบุคคลที่อยู่ในคราบของ “นักบวช” คือเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ได้อาศัยความเชื่อ ความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนแล้วโน้มน้าวศรัทธาของชาวบ้านที่มีอยู่นั้นให้ทุ่มเทกำลังทรัพย์ที่ตนเองมีอยู่นั้นมาทำนุบำรุงศาสนวัตถุและศาสนบุคคลในวัดวาอารามให้เจริญก้าวหน้า
ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามทำนองคลองธรรม ไม่ผิดศีลธรรมอันดีของศาสนาและไม่ผิดกฎหมายบ้านเมืองแล้วก็ถือว่าเป็นการ “ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยศรัทธาที่แท้จริง” แต่บางกรณีกว่าชาวบ้านและชาวพุทธจะมารู้ก็กลายเป็นการ “ถูกหลอก” เสียแล้ว เพราะผู้ที่เป็นนักบวชขาดความจริงใจในการดำเนินงาน
...มีอะไรแอบแฝงอยู่ในใจลึกๆ เมื่อ “ลาภสักการะ” เข้ามามากกว่าปกติก็มักจะคิดถึง “ประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง” สุดท้ายก็ถูกออกมาร้องเรียนหรือร้องทุกข์จนกลายเป็นเรื่องฉาวโฉ่
เหล่านี้จึงเป็นที่มาของคำว่า “จุดเสื่อมของนักบวช เลยชวดศรัทธา”
“ความเสื่อม” หรือ “ความหายนะ” ของนักบวชในพระพุทธศาสนานั้นย่อมมีแตกต่างกันออกไป แต่ละรูปแต่ละสำนักอาจจะไม่เหมือนกันแต่มีความคล้ายคลึงกันอย่างเช่น
ประการที่หนึ่ง เรามักพบเห็นพระภิกษุที่เดินบิณฑบาตหรือนั่งรับบิณฑบาตอยู่ในอาการที่ไม่สำรวม วางตัวไม่เหมาะสมจนถูกร้องเรียนจากชาวบ้านหรือชาวพุทธผ่านสื่อสารมวลชน หน่วยงานทางศาสนาและ “โซเชียล” เพราะทำให้เกิดความสงสัยว่าเป็นการกระทำของ “พระจริงหรือพระปลอม”
“ถ้าเป็นพระจริงก็ไม่ควรประพฤติเช่นนี้ ถ้าเป็นพระปลอมก็สมควรกำจัดออกไปจากศาสนา อย่าให้ศาสนาได้มัวหมอง อย่าให้บุคคลเช่นนั้นนำเอาศาสนามาเป็นเครื่องบังหน้าหากิน ได้ประโยชน์โดยส่วนตน สำหรับรูปที่เป็นพระจริงก็ควรปรับปรุงตนเอง ยึดหลักพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด...”
เรามักพบเห็นชาวบ้านพูดอยู่เสมอว่า “พระรูปนี้ไม่สำรวม” มาแล้ว หรือเรามักพบเห็นว่าพระภิกษุบางรูปเที่ยวไปในแหล่งอโคจรหรือสถานที่ไม่เหมาะสม เช่น ตามห้างสรรพสินค้าโดยที่ทางห้างมิได้นิมนต์ไป...ไปในสถานที่ท่องเที่ยวยามราตรีซึ่งมิใช่วิสัยของนักบวช บางรูปขับรถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัวไปทำธุระ
ประการที่สอง บุคคลที่บรรพชาหรืออุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนาก็มีศีลเป็นของตนเอง ถ้าเป็นสามเณรก็ถือศีล 10 ข้อ ถ้าเป็นพระภิกษุก็ถือศีล 227 ข้อ บุคคลที่เป็นนักบวชตามขั้นตอนที่ถูกต้องจะต้องโกนผม โกนคิ้ว นุ่งห่มอังสะ สบง...จีวรตามพระธรรมวินัย แต่มาระยะหลังได้มีนักบวชบางรูปทำตัวไม่เหมาะสม
ลืมจุดเริ่มต้นของตนเองที่มาเป็น “นักบวช” แทนที่จะสวมใส่ “อังสะ” แต่ไปสวมใส่เสื้อแขนยาวเหมือนฆราวาส อาจจะสีเหมือนนักบวชบ้างหรือสีไม่เหมือนนักบวชบ้าง แต่ก็ไม่เหมาะสมโดยประการทั้งปวง เวลาออกไปนอกวัดก็สวมใส่หมวกกันหนาวบ้าง เสื้อกันหนาวแขนยาวบ้างคล้ายคลึงกับฆราวาสเลย
อย่าลืมว่า “ศรัทธาชาวบ้าน” เสื่อมก็เพราะการประพฤติตัวของเราที่ไม่อยู่ใน “ศีล” และในกรอบของ “พระธรรมวินัย” นี่เอง การที่พระภิกษุไม่รักษาศีลของตนเองที่พระบรมศาสดาได้บัญญัติไว้แล้วก็เท่ากับไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดาของตนเองอย่างชัดเจน
ในประการนี้จึงเรียกว่า “ศีลวิบัติ” คือศีลของ “พระหายนะ” นั่นเอง
ประการที่สาม ความเชื่อและความศรัทธาถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือโน้มน้าวให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมีพฤติกรรมหรือการกระทำให้เป็นไปอีกด้านหนึ่งได้ คนเราเมื่อมีความเชื่อที่ชัดเจนในตนเอง แล้วผนวกกับความศรัทธาที่เกิดขึ้นมา จึงมักยึดเอาบุคคลที่ตนเห็นเป็นต้นแบบนั้นเป็น “สรณะ”
เหล่านี้เป็นเหตุแห่งความ “วิบัติ” หรือความเสื่อมของ “นักบวช” ที่เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ถึงเวลาแล้วที่เราจะมาร่วมใจกันยึดเอาหลักพระธรรมและพระวินัยของพระพุทธองค์มาปฏิบัติอย่างเต็มที่
ในพรรษานี้ ชาวบ้าน ชาวพุทธ ชาวโลกจะได้น้อมนำเอาหลักธรรมคำสอนของศาสนาไปประพฤติปฏิบัติในยุคการแพร่ระบาดของไวรัส “โควิด-19”...ศาสนาย่อมผ่อนคลาย “ความทุกข์” ของ “มนุษย์” ในยามตกยากเช่นนี้.
สู้โควิด-19 ทางโลก ทางธรรมสู้ศรัทธา - ไทยรัฐ
Read More
No comments:
Post a Comment