Rechercher dans ce blog

Sunday, November 28, 2021

เปิดกลยุทธ์ CP ผ่าทางตัน จุดอิ่มตัวธุรกิจโทรคมไทย - กรุงเทพธุรกิจ

การควบรวมธุรกิจครั้งสำคัญในช่วงปลายปีเกิดขึ้นหลังจากที่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และ กลุ่มเทเลนอร์ ประกาศสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) โดยให้บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค โดยจะปรับโครงสร้างธุรกิจสู่ “เทค คอมพานี”

เหตุผลสำคัญที่ “ศุภชัย เจียรวนนท์” ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการทรู คาร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ชี้แจงถึงการเจรจากับเทเลนอร์ครั้งนี้ คือ ทรูและดีแทคไม่สามารถเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจและลูกค้าต่อไปได้จึงเป็นที่มาของแนวคิดการร่วมเป็นพันธมิตรกัน รวมทั้งการแข่งขันในสเต็ปถัดไปจะเป็นการแข่งขันระดับภูมิภาคและระดับโลก

ทรู คอร์ปอเรชั่น ถือเป็นอีกธุรกิจเรือธงของกลุ่มซีพี โดยในปี 2563 มีรายได้สัดส่วน 7% ของรายได้รวมกลุ่มซีพี 2.14 ล้านล้านบาท รองลงมาจากรายได้กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่มีสัดส่วน 58% และกลุ่มค้าปลีกที่มีสัดส่วน 28%

ยุทธศาสตร์สำคัญของซีพี ที่ “ธนินท์ เจียรวนนท์” วางแนวทางไว้ คือ การสร้างลงทุนแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยเห็นได้จากธุรกิจอาหารที่ครอบคลุมตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ ฟาร์ม การแปรรูปอาหารและการค้าปลีก

ในขณะที่กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคาของทรู มีจุดเริ่มต้นจากการตัดสินใจเข้าประมูลสัมปทานโทรศัพท์บ้านเมื่อปี 2534 ในนาม บริษัท ซี.พี.เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมีจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญเมื่อร่วมทำธุรกิจมือถือกับบริษัท Orange ในนามบริษัททีเอ ออเรนจ์ จำกัด ก่อนที่ Orange จะถอนการลงทุนและขายหุ้นทั้งหมดให้ซีพี

การร่วมเป็นพันธมิตระหว่างซีพีและเทเลนอร์เกิดขึ้นท่ามกลางข่าวการถอนการลงทุนของเทเลนอร์ในภูมิภาคนี้ ถึงแม้เทเลนอร์จะปฏิเสธมาตลอด แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความร่วมมือที่กำลังจะเกิดขึ้นจะสร้างโอกา่สใหม่ให้ซีพี

"พสุ เดชะรินทร์" คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ของซีพีครั้งนี้ ว่า กลยุทธ์การควบรวมจะทำให้ธุรกิจโทรคมนาคมของทรูมีความสมบูรณ์มากขึ้น จากปัจจุบันที่ประกอบด้วยธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเตอร์เน็ต ระบบชำระเงิน คอนเทนต์และโทรทัศน์ดิจิทัล โดยซีพีจะไม่ได้เป็นเพียงผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ แต่ดีลนี้จะช่วยพัฒนา “แพลตฟอร์ม” ให้ตอบโจทย์ลูกค้าหลายมิติ ซึ่งการควบรวมจะเป็นอีกวิธีการที่ทำให้แพลตฟอร์มธุรกิจโทรคมนาคมของซีพีเข้มแข็งขึ้นและสร้างอีโคซิสเต็มส์ของตัวเองขึ้นมาเพื่อรองรับการพัฒนาธุรกิจในระยะยาว

อีกกลยุทธ์หนึ่งที่วิเคราะห์ได้จากการดีลครั้งนี้ คือ ทรูและดีแทคไม่สามารถขยายธุรกิจให้เติบโตในประเทศไทยได้มากกว่าในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องออกไปขยายตลาดนอกประเทศจากหลายข้อจำกัดหลายด้าน โดยเฉพาะจำนวนประชากรที่มี 68 ล้านคน ในขณะที่หมายเลขโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมีมากกว่าจำนวนประชากร รวมถึงค่าบริการโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตในไทยที่มีการแข่งขันจนมาอยู่ในระดับที่ไม่สูง

"มองในเชิงธุรกิจเป็นเรื่องเมคเซ็นต์ที่ทั้ง 2 ราย จะจับมือกัน เพราะการแข่งขันเพื่อให้ตัวเองขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 เพียงลำพังนั้นเป็นไปได้ยาก จึงทำให้เบอร์ 2 และเบอร์ 3 ต้องมาจับมือกัน ซึ่งทั้ง 2 ราย คงไม่ใช่มองการรวมกันแค่เรื่องเครือข่ายสัญญาณเพียงอย่างเดียว แต่มองถึงการสร้างแพลตฟอร์มธุรกิจร่วมกัน”

ด้วยปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการเจรจาเพื่อ Mergers and acquisitions หรือ M&A โดยกรณีของ “ทรู-ดีแทค” จะเป็นควบรวมแบบที่มีศักดิ์ศรีเท่ากันมีอำนาจการบริหารเท่ากันและถือสัดส่วนหุ้นเท่ากัน 

หากถ้าพิจารณาวิธีการที่จะขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้นจะมี 3 วิธีการ คือ

1.การขยายธุรกิจด้วยตัวเอง

2.การทำ M&A

3.การหาพาร์ทเนอร์เพื่อลงทุนในธุรกิจใหม่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น 

ทั้งนี้ การจะเลือกวิธีใดขึ้นกับความพร้อมของแต่ละบริษัท โดยท้ายที่สุดซีพีและเทเลนอร์เลือกใช้วิธีการ M&A 

"การควบรวมหรือการซื้อกิจการถือเป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจเพราะไม่ได้มีแค่ซีพี ที่ใช้วิธีการควบรวมกิจการ ซึ่งล่าสุดได้ซื้อหุ้นของเทสโก้ในไทยและมาเลเซียหลังจากที่ถอนตัวจากการลงทุนในเอเชีย"

ช่วงที่ผ่านมาจะเห็นบริษัทขนาดใหญ่ของไทยออกไปซื้อกิจการของบริษัทต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เช่น เอสซีจี เซ็นทรัล กลุ่มไทยเบฟ ซึ่งมีเหตุผลส่วนหนึ่งเหมือนกัน คือ การทำตลาดในประเทศมีข้อจำกัดมากขึ้น แต่การเข้าไปซื้อกิจการได้จะต้องเป็นบริษัทที่มีความพร้อมด้านเงินทุนและบุคลากร รวมทั้งการทำธุรกิจข้ามชาติมีปัจจัย Geopolitics เข้ามาเกี่ยวข้องจึงทำให้มักจะเป็นบริษัทใหญ่ที่ทำเช่นนี้ได้

สำหรับ “เทคคอมพานี” คืออีกประเด็นที่ซีพีและเทเลนอร์ให้น้ำหนักกับการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจครั้งนี้ ซึ่งการจะทำให้ธุรกิจเติบโตมาขึ้นทำให้บิ๊กคอร์ปหมายแห่งในประเทศไทยประเทศเป้าหมายการเป็นเทคคอมพานี เพราะธุรกิจมือถือในประเทศไทยอยู่ในจุด “อิ่มตัว”

Adblock test (Why?)


เปิดกลยุทธ์ CP ผ่าทางตัน จุดอิ่มตัวธุรกิจโทรคมไทย - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...