Rechercher dans ce blog

Saturday, February 26, 2022

ยุค “ทางแยก” การตลาดดิจิทัล จี้จุดแบรนด์ตัดสินใจ “ลงทุน” รับโลกอนาตต - กรุงเทพธุรกิจ

การตลาดดิจิทัลมาถึง “ทางแยก” ครั้งสำคัญ ที่แบรนด์ จะต้องตัดสินใจ “ลงทุน” เพื่อให้การทำตลาด “ก้าวล้ำ” นำคู่แข่ง เป็นรายแรกเจาะกลุ่มเป้าหมาย แต่โจทย์ใหญ่ คุ้มหรือไม่ยอมตกขบวน แต่ “ลูกค้า” ไม่ตามไปเทรนด์ใหม่ๆทั้ง NFT เมตาเวิร์ส

สุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล ประธานฝ่ายการตลาดดิจิทัลและเทคโนโลยี สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และนักวางกลยุทธ์การตลาด และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท แบรนด์เบเกอร์ จำกัด ดิจิทัลเอเยนซี ฉายภาพเทรนด์การตลาดดิจิทัลปี 2565 ที่นักการตลาดต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคเข้าสู่วิถีแห่งดิจิทัลเต็มตัวหรือ Digital Savvy

นอกจากนี้ การชอปปิงออนไลน์กลายเป็นหนึ่งในพฤติกรรมของผู้บริโภคไปแล้ว กว่า 90% ต่างเคยซื้อสินค้าออนไลน์ 1 ครั้ง ยิ่งกว่านั้นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เข้าไปซื้อสินค้าเฉลี่ยถึง 8.7 เว็บไซต์ สะท้อนให้เห็นว่าแบรนด์สินค้าและบริการไม่สามารถอยู่บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่เดียวอีกต่อไป แต่ต้องเจาะแพลตฟอร์มที่มีความเฉพาะมากขึ้น เช่น มาร์เก็ตเพลสจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง NocNoc สินค้าไลฟ์สไตล์ Mecular เป็นต้น

วิถีดิจิทัลของผู้บริโภค ทำให้เป็นคนช่างเลือก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตลอดเวลา และคอนซูเมอร์ไปทางไหน เราต้องไปตาม ถ้าไม่ไปตามแบรนด์เผชิญความเดือดร้อนแน่”

นอกจากนี้ ประเด็นท้าทายนักการตลาดยิ่งขึ้น เมื่อการมยอมรับเทคโนโลยี นำไปสู่ “ทางแยก” เกิดการกระจายตัวหรือ Decentralized การทำตลาดดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นของสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทต่างๆ การผสานโลกเสมือนจริงเข้ากับโลกจินตนาการหรือ Metaverse แบรนด์จะเลือก “ลงทุน” เข้าไปอยู่ในกระแสคว้าโอกาสใหม่ๆหรือไม่

ตัวอย่างสินทรัพย์ดิจิทัลประเภท ที่คนไทยมีการลงทุนซื้อเหรียญ โทเคนต่างๆติดอันดับ 1 ของโลก อนาคตจะมีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจค้าขายมากขึ้น จะเห็นแบรนด์ตบเท้าเกาะกระแส NFT :Non-Fungible Token มาสู่สินค้าและบริการพิเศษ เอ็กซ์คลูสีฟ ตอบโจทย์ลูกค้า นอกจากนี้ ผู้บริโภคจะไม่พึ่งพาองค์กรใหญ่เพียงรายเดียว แต่จะกระจายไปยังองค์กรอื่นๆมากขึ้น

“เอ็นเอฟทีเป็นอีกปัจจัยสำคัญบนทางแยกดิจิทัล ที่จะดึงผู้บริโภคออกมาจากโลกปัจจุบันที่มีบิ๊กโฟร์ครองตลาด ไม่ว่าจะเป็น กูเกิล แอปเปิล อเมซอน และเฟซบุ๊ก โซเชียลมีเดียในอนาคตจะเปลี่ยนไป จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่หวงความเป็นเจ้าของ ตัวตนของตัวเองมากขึ้น ไม่ต้องการแชร์ข้อมูลให้ถูกแบรนด์นำไปใช้ประโยชน์”

ยุค “ทางแยก” การตลาดดิจิทัล  จี้จุดแบรนด์ตัดสินใจ “ลงทุน” รับโลกอนาตต

ธัญญ์นิธิ อภิชัยโชติรัตน์-สุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล

ส่วนทางแยกเมตาเวิร์ส จะทำให้แบรนด์หาแนวทางใหม่ๆในการทำตลาด แต่สิ่งที่ต้องตั้งคำถามคือ แบรนด์เลือกเกาะกระแสเพื่อให้ล้ำ น่าสนใจ แต่ผู้บริโภคอาจไม่ตามเข้าไปในโลกเสมือนจริง จึงต้องมาขบคิดว่าต้องการ “ลงทุน” เพื่ออะไร”

“เมตาเวิร์ส จะสร้างประสบการณ์ทั้งหมดในชีวิต สร้างสรรค์ได้มากกว่าโลกกายภาพธรรมดา แต่วันนี้ทางแยกของแบรนด์ นักการตลาด เราพร้อมจะลงทุนกับเมตาเวิร์สหรือยัง”

อย่างไรก็ตาม โลกการตลาดดิจิทัลที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ที่สุดแล้ว แบรนด์ เจ้าของสินค้าต้องการคือ “ผลตอบแทนจากการลงทุน”หรือ ROI ทำแล้วต้องได้ “ยอดขาย” ไม่ใช่แค่เอ็นเกจเมนต์จากยอดการเข้าถึง(Reach) ยอดรับชม(View)

ธัญญ์นิธิ อภิชัยโชติรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและวางแผนกลยุทธ์การตลาด บริษัท สมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ จำกัด ซึ่งเป็น 1 ใน 10 คนไทยที่ได้รับการคัดเลือกจาเฟซบุ๊กให้เป็น Alpha Tester กล่าวถึง 5 เทรนด์ของการทำตลาดดิจิทัล ที่ผู้ประกอบการต้องรู้สำหรับเคลื่อนธุรกิจปี 2565 ประกอบด้วย

1.อินฟลูเอ็นเซอร์เฉพาะทางหรือ Niche ที่มีผู้ตามหลัก “หมื่นคน” เป็นกระบอกเสียงสำคัญให้แบรนด์ได้ และการทำตลาดแบรนด์ไม่ควรลืมให้แท็ก “สปอนเซอร์” ช่วยติด “เทอร์โบ” แคมเปญเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น

2.ผู้บริโภคซื้อสินค้าผ่านแชท(Chat Commerce) มากขึ้น ถึงเวลาที่แบรนด์ต้องใช้เครื่องมือร้านค้าทุกแพลตฟอร์มเอื้อค้าขาย เช่น Line My Shop อินสตาแกรมช็อป และติ๊กต๊อก ช็อป กำลังจะมา เป็นต้น 3.ไม่ผูกติดแพลตฟอร์มเดียวในการทำตลาด เพราะโลกเปลี่ยนแปลงเสมอ จึงต้องกระจายสู่แพลตฟอร์มใหม่ๆ เช่น ติ๊กต๊อก ค่าโฆษณาถูกกว่าเฟซบุ๊ก 4 เท่า

4.ขายสินค้าผ่านไลฟ์(Live Commerce) ต้องจริงจังได้แล้ว และผู้ประกอบการควรมีเครื่องมือตอบโจทย์การซื้อสินค้าทันที หรือระบบดูดต่างๆ

5.เทรนด์วิดีโอสั้นแนวตั้ง(​​Virtical Video) มองข้ามไม่ได้ ตัวอย่างวิดีโอสั้นบนติ๊กต๊อกมาแรงมาก ทำให้แพลตฟอร์มอื่นทั้งยูทูป Voom ของไลน์ Reels ของอินสตาแกรมต้องพัฒนาสู่ตลาด

Adblock test (Why?)


ยุค “ทางแยก” การตลาดดิจิทัล จี้จุดแบรนด์ตัดสินใจ “ลงทุน” รับโลกอนาตต - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...