เศรษฐกิจของเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตในปี 2565 แม้จะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และความตึงเครียดทางการเมืองทั่วโลก รวมถึงต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพิ่มมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามเวียดนามควบคุมสถานการณ์จนถึงปัจจุบันได้ ใน 8 เดือนแรกของปี 2565 ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) เพิ่มขึ้นเพียง 2.58 % เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ 4%
ขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเวียดนามไตรมาสที่ 2 การเติบโตของ GDP อยู่ที่ 7.7% ซึ่งเป็นการเติบโตรายไตรมาสสูงที่สุดในรอบ 10 ปี ในขณะที่ไตรมาส 3 ขยายตัวถึง 13.67% รวมทั้งในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 15.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564
สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานประธานสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม กล่าวว่า ด้านการส่งออกเติบโตได้ดีท่ามกลางภาวะการค้าโลกที่ตกต่ำ โดยช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกมีรายได้ 250,800 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 17.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยคาดว่าภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอยังคงเติบโตในช่วงหลังของปี 2565 เนื่องจากข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามลงนาม
ทั้งนี้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะลดลง หากราคาอาหารและเชื้อเพลิงในตลาดโลกลดลงและการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานจะดีขึ้นในระยะสั้น คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของเวียดนามจะอยู่ที่ประมาณ 3.3 - 3.8% ในปี 2565
ส่วนอัตราเงินเฟ้อในเวียดนามยังไม่ถึงจุดสูงสุด เนื่องจากเวลาล่าช้าและคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอีกจนถึงสิ้นปี 2565 ซึ่งรัฐบาลได้ควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ดีผ่านการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันและการควบคุมปริมาณอาหาร การควบคุมนั้นมีประสิทธิภาพสูงต่อราคาที่สูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนการขนส่ง ราคาอาหาร และราคาวัสดุก่อสร้างคิดเป็น 90% ของ CPI ที่เพิ่มขึ้น
เมื่อวิเคราะห์ประเทศไทย-เวียดนาม พบว่า ประเทศเวียดนามมีจำนวนประชากรมากกว่า 98 ล้านคน ประกอบกับหนี้ครัวเรือนที่ต่ำ ซึ่งหมายความมีความต้องการในการอุปโภคบริโภคที่สูงมาก เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการลงทุน นอกจากนี้ มีจำนวนแรงงานมากที่เรียกว่า “Golden Population Structure” คือมีจำนวนประชากรทีอายุต่ำกว่า 30 เป็นจำนวนมากกว่า 45%
ขณะเดียวกันอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำที่ต่ำกว่าประเทศไทยดูเหมือนจะเป็นที่ดึงดูดต่อนักลงทุนชาวต่างชาติ แต่ถ้านับผลประโยชน์และค่าใช้จ่ายรวมในทุกด้าน ต้นทุนในด้านแรงงานก็ไม่ถือว่าได้เปรียบต่อการจ้างแรงงานในประเทศไทย และยังต้องพัฒนาฝีมีแรงงานให้มีทักษะมากขึ้น ในขณะที่เรามีความพร้อมในด้านฝีมือแรงงานที่มากกว่า
ด้านความน่าสนใจต่อการลงทุนและการค้าในประเทศก็นับว่ามีหลายปัจจัยที่สนใจ เช่น Ecosystems ที่พร้อม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทีมีการจัดการที่ดีมีคุณภาพ ในสภาพแวดล้อมที่ดีเหมาะสมการการอยู่อาศัย ประกอบกับวัฒนธรรมในการกินการอยู่ที่มีเสน่ห์ก็ถือว่าช่วยดึงดูดลงทุนและนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี การพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่มีความต่อเนื่องของเรา ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้าและต้นทุนในการแข่งขันที่มากขึ้นด้วย นอกจากนี้การที่เราเป็นศูนย์กลางของประเทศจีนและอินเดียทำให้เรามีโอกาสในการสร้าง “Value Chain Connectivity” ที่จะให้เกิดโอกาสสำคัญต่อการลงทุนและการค้าเป็นอย่างมาก
นายสนั่น กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเวียดนามได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องในทุกระดับและมีความแน่นแฟ้นมากขึ้นในทุกมิติ จนถึงปัจจุบัน ทั้ง 2 ประเทศตกลงยกระดับความสัมพันธ์ขึ้นเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็ง (Strengthened Strategic Partnership) เมื่อปี ค.ศ.2019 ซึ่งสะท้อนว่าผลประโยชน์ของเราที่ผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง ทั้งในด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและประชาชน ความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับเวียดนามมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่และมีศักยภาพสูงของอนุภูมิภาคลุ่มน้าโขง มีองค์ประกอบทางเศรษฐกิจที่สามารถเกื้อหนุนกันได้เป็นอย่างดี
ด้านการลงทุน ในบรรดาผู้ลงทุนต่างประเทศในเวียดนาม ไทยลงทุนสูงเป็นอันดับ 8 แต่เป็นอันดับ 2 ในกลุ่มผู้ลงทุนจากอาเซียน โดยมูลค่าการลงทุนสะสมสูงกว่า 13,000 ล้านดอลลาร์ ในอุตสาหกรรมหลากหลายสาขา แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในศักยภาพและโอกาสทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ขณะเดียวกันเริ่มเห็นการลงทุนของเวียดนามในไทยเพิ่มขึ้น โดยในปีที่ผ่านมาการลงทุนของเวียดนามในไทยมีมูลค่ารวมกว่า 140 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ แนวทางความร่วมมือที่ไทยและเวียดนามที่ควรให้ความสำคัญในระยะต่อไป เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนไปพร้อมกัน คือ ยุทธศาสตร์การเชื่อมโยง 3 ด้าน หรือ “Three Connects” ประกอบด้วย
1.การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน ปัจจุบันสินค้าที่ไทยและเวียดนามค้าขายกัน กว่าครึ่งหนึ่ง เป็นสินค้าขั้นกลางน้า (intermediate goods) สาหรับป้อนอุตสาหกรรมการผลิตทั้งเพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก ซึ่งห่วงโซ่อุปทานในระบบการผลิตของทั้งสองประเทศเชื่อมโยงกันอยู่แล้วอย่างใกล้ชิด ดังนั้น ไทยและเวียดนามจึงควรเร่งให้เกิดการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมที่เกื้อกูลกัน ให้มีระบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ ปิโตรเคมี อาหาร ชิ้นส่วนเครื่องจักร และอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และลดต้นทุนการผลิต แล้วเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ โดยการเร่งรัดการอานวยความสะดวกทางการค้าและลดอุปสรรคทางการค้าในทุกด้าน เพื่อให้สินค้าและปัจจัยการผลิตระหว่างสองประเทศสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
สำหรับการขนส่งสินค้า ทั้ง 2 ฝ่ายควรเร่งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม โดยเฉพาะทางบก อาทิ เส้นทางหมายเลข 9 และหมายเลข 12 และเส้นทางหมายเลข 1 ซึ่งเชื่อมโยงไทยกับเวียดนามผ่าน สปป. ลาว และกัมพูชา รวมทั้งควรหาแนวทางลดระยะเวลาการดาเนินการที่จุดผ่านแดน โดยเฉพาะสำหรับสินค้าเกษตรซึ่งเน่าเสียง่าย
2.การเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานราก ในทุกวิกฤติทางเศรษฐกิจ กลุ่มที่มักจะได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรกแต่ฟื้นตัวได้เป็นอันดับท้าย ๆ คือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งเป็นแท้จริงแล้วคือจักรกลสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทั้งไทยและเวียดนาม ดังนั้น ไทยและเวียดนามจึงควรสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับท้องถิ่นของทั้งสองประเทศได้ติดต่อสัมพันธ์กันมากขึ้น เพื่อเพิ่มช่องทางในการประกอบธุรกิจ
นอกจากนี้ เวียดนามเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์เมืองคู่มิตร (Sister Cities) กับไทยมากที่สุดเป็นอันดับต้น โดยส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในภาคอีสานของไทย ซึ่งมีความใกล้ชิดกับเวียดนามทั้งในทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม ทั้ง 2 ฝ่ายจึงน่าจะใช้กรอบความสัมพันธ์เมืองคู่มิตรเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ ในการส่งเสริมการเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างภาคอีสานของไทยกับเวียดนาม เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นของทั้งสองประเทศ และช่วยกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนโดยตรง
3.การเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การเติบโตอย่างยั่งยืน ปัจจุบันไทยกำหนดให้การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model: BCG) เป็นวาระแห่งชาติ โดยภาคเอกชนไทยได้เริ่มนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนทั้งในด้านการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีอย่างไม่ก่อให้เกิดโทษต่อสิ่งแวดล้อม
ขณะเดียวกัน เวียดนามก็มียุทธศาสตร์การเติบโตสีเขียว (Green Growth Strategy) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเร่งพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน ดังนั้น ทุกภาคส่วนของทั้งสองประเทศควรร่วมมือกันในด้านมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตอย่างยั่งยืนให้เกื้อหนุน สอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้ประเทศของเราทั้งสองประเทศสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ อย่างดีที่สุด
“ยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงทั้ง 3 ด้านดังกล่าวจะสนับสนุนให้ภาคธุรกิจของทั้ง 2 ประเทศสามารถใช้ศักยภาพและโอกาสที่มีอยู่ได้เต็มที่ และเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับเวียดนามให้เข้มแข็งขึ้น”
หอการค้าแนะผนึกเวียดนามสร้างหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจแทนเปิดหน้าชน - กรุงเทพธุรกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment