Rechercher dans ce blog

Wednesday, January 25, 2023

“Crowdfunding” ทางเลือกแหล่งเงินทุนของ SME “Crowdfunding” ทางเลือกแหล่งเงินทุนของ SME - Post Today

2.ในช่วงระหว่างการระดมทุน ซึ่งจะมีระยะเวลาประมาณ 1 - 3 เดือน ผู้ลงทุนจะจ่ายเงินค่าจองซื้อ ซึ่งจะเก็บไว้ที่บุคคลที่ 3 ที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น escrow agent เป็นต้น และหากผู้ลงทุนต้องการจะยกเลิกการจองซื้อในช่วงที่ยังไม่ปิดการเสนอขาย ก็สามารถทำได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ ผู้ลงทุนสามารถสอบถามข้อมูลบริษัทเพิ่มเติมบนกระดาน หรือ webboard ซึ่งเป็นที่แลกเปลี่ยนความคิดในกลุ่มผู้ลงทุนด้วยกันเอง จนอาจนำไปสู่กลไกการตรวจสอบบริษัทที่มีประสิทธิภาพที่เกิดจากพลังของมวลชนหมู่มาก (power of crowd) ได้

3. เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายแล้ว หากบริษัทสามารถระดมเงินทุนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ บริษัทก็จะได้รับเงินทุนไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และผู้ลงทุนก็จะได้หุ้นหรือหุ้นกู้ของบริษัทไปตามสัดส่วนเงินที่ลงทุน โดยมีเงื่อนไขดังนี้ 

3.1 กรณีหุ้นคราวด์ฟันดิง หากบริษัทระดมทุนไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ถือว่าการระดมทุนไม่สำเร็จ ผู้ลงทุนก็จะได้รับเงินค่าจองซื้อกลับคืนไป โดยลักษณะนี้เรียกว่า “all-or-nothing"  และ 3.2 กรณีหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง หากบริษัทสามารถระดมทุนได้ตามเป้าหมายที่ funding portal กำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนเงินที่เสนอขาย ก็ไม่ต้องยกเลิกการเสนอขาย ซึ่งมีข้อดีคือ บริษัทจะยังได้รับเงินและสามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดย funding portal ต้องเปิดเผยและแจ้งเงื่อนไขดังกล่าวให้ผู้ลงทุนรับทราบก่อนการจองซื้อด้วย

อย่างไรก็ตามเนื่องจากการระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิงที่ให้หุ้นหรือหุ้นกู้เป็นสิ่งตอบแทน  ถือเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนรูปแบบ หนึ่ง จึงอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ปี 2535 ซึ่งกำกับดูแลโดย ก.ล.ต.  

ดังนั้น การระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิงที่เป็นช่องทางหนึ่งสำหรับบริษัท SME และ Startup ที่ยังอยู่ในช่วงเริ่มธุรกิจที่ยังมีความเสี่ยงสูง แต่ต้องการเงินทุนเพื่อเติบโตต่อไป การกำกับดูแลจึงต้องไม่สร้างภาระและต้นทุนแก่บริษัทมากเกินไป ในขณะเดียวกัน ยังคงคำนึงถึงกลไกการคุ้มครองผู้ลงทุนด้วย ก.ล.ต. จึงให้ความสำคัญกับประเด็น อันได้แก่

1. การคัดกรองคุณสมบัติของบริษัทและการเปิดเผยข้อมูล ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการคัดกรองบริษัทคือ funding portal ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. โดยบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีโครงการหรือแผนธุรกิจที่ชัดเจน สามารถระดมทุนโดยการเสนอขายผ่าน funding portal ดังกล่าวได้

2. การคุ้มครองผู้ลงทุน เนื่องจากกิจการที่มาระดมทุนแบบ คราวด์ฟันดิงอยู่ในช่วงเริ่มต้น มีความเสี่ยงสูงที่อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ จึงมีมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนตามความสามารถในการรับความเสี่ยง หรือความเข้าใจในการลงทุน ดังนี้ 1.การจำกัดความเสียหายจากการลงทุน 2.การสร้างความเข้าใจความเสี่ยงในการลงทุน 3.การกำหนดเงื่อนไขของการระดมทุน การออกเสนอขายหุ้นแบบคราวด์ฟันดิง ใช้หลัก All-or-Nothing หมายถึง การที่ผู้ระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิงจะได้รับเงินจากผู้ลงทุนเมื่อระดมทุนได้ครบตามจำนวนที่ตั้งไว้เท่านั้น หากไม่ครบจะต้องยกเลิกการระดมทุน และชำระเงินคืนให้แก่ผู้ลงทุน

ส่วนการออกเสนอขายหุ้นกู้แบบคราวด์ฟันดิง จะไม่นำหลัก All-or-Nothing มาใช้ หากสามารถระดมทุนได้ร้อยละ 80 ของจำนวนเงินที่เสนอขาย ผู้ระดมทุนก็สามารถรับเงินที่ระดมทุนนั้นไปใช้ดำเนินธุรกิจหรือโครงการธุรกิจได้ โดย funding portal ต้องเปิดเผยและแจ้งเงื่อนไขให้ผู้ลงทุนรับทราบก่อนการจองซื้อ

3. การให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิง (funding portal) Funding portal เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวกลางที่เชื่อมโยงระหว่างบริษัทและผู้ลงทุนและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการระดมทุน ดังนั้น funding portal จึงต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน โดยพิจารณาคุณสมบัติและความพร้อมของระบบงานที่สำคัญ

ดังต่อไปนี้ 1.เป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย 2.มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง โดยจะต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท 3.กรรมการของบริษัทต้องไม่มีคุณลักษณะต้องห้าม 4.มีระบบงานที่พร้อมจะประกอบธุรกิจตามที่ประกาศกำหนด เช่น ระบบตรวจสอบตัวตน คุณสมบัติ ทดสอบความเข้าใจการลงทุนของสมาชิก (knowledge test) ระบบการจัดการเก็บรักษาเงินค่าจองซื้อ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบป้องกันการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายจากผู้อื่น เป็นต้น

4. ผู้ที่ต้องการระดมทุน สำหรับผู้ที่เสนอขายหลักทรัพย์คราวด์ฟันดิง ต้องเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีความประสงค์จะใช้เงินที่ได้รับเพื่อดำเนินธุรกิจหรือโครงการธุรกิจที่ชัดเจน หรือเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมที่บริษัทได้ก่อไว้เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจหรือโครงการดังกล่าว (refinance)  นอกจากนี้ holding company ก็สามารถเสนอขายได้ ถ้าถือหุ้นในบริษัทที่มีธุรกิจหรือโครงการที่ต้องการทุนมากกว่าร้อยละ 50%

สำหรับหลักทรัพย์ที่เสนอขาย อาจเป็นหุ้นหรือหุ้นกู้ แบบ plain โดยมีประกันหรือไม่มีประกันก็ได้ กรณีเป็นหุ้นกู้มีประกันหรือหุ้นกู้ที่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้เสนอขายจะต้องจัดทำข้อกำหนดสิทธิและสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ นอกจากนี้ ภายหลังระดมทุนสำเร็จ ผู้เสนอขายจะต้องรายงานการใช้เงินลงทุนที่ได้รับและความคืบหน้าของโครงการธุรกิจอย่างต่อเนื่องด้วย

สิ่งสำคัญสำหรับการระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิงคือ การที่แต่ละฝ่ายเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเองได้อย่างดี เช่น funding portal ก็ต้องมีหน้าที่ในการพิจารณาคัดเลือกบริษัทเพื่อนำเสนอแก่ผู้ลงทุน จนนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่น (trust) ส่วนผู้ลงทุนก็ต้องเข้าใจความเสี่ยงของการลงทุน เช่น ถ้าธุรกิจหรือโครงการสำเร็จจะได้ผลตอบแทนสูงหลายเท่า แต่ก็มีโอกาสที่จะสูญเงินทั้งจำนวนเช่นกัน เพื่อปกป้องความสูญเสียของตนเองที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงบริษัทที่สนใจระดมทุนก็จะต้องมีความตั้งใจในการนำเงินที่ระดมทุนได้ไปประกอบธุรกิจตามที่ได้เสนอแก่ผู้ลงทุน และยังต้องระลึกเสมอว่าเงินที่ได้จากการระดมทุนเป็นเงินของผู้อื่น จึงต้องใช้จ่ายด้วยความระมัดระวัง

ปัจจุบัน ก.ล.ต. กำลังอยู่ในขั้นตอนของการออกเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องมารองรับเพื่อให้เป็นตามมาตรฐานสากล ดังนั้นในอนาคตอันใกล้นี้ เราจึงจะเห็นความร้อนแรงของ “ESG Bond” ที่จะมาดับสภาวะโลกร้อน ผ่อนคลายปัญหาสังคม และปูพรมสู่ความยั่งยืนอย่างแน่นอน

Adblock test (Why?)


“Crowdfunding” ทางเลือกแหล่งเงินทุนของ SME “Crowdfunding” ทางเลือกแหล่งเงินทุนของ SME - Post Today
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...