โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า WEF จัดทำรายงานดัชนีความเสมอภาคทางเพศทั่วโลกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549 เพื่อประเมินความคืบหน้าเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ และเปรียบเทียบช่องว่างระหว่างเพศของประเทศต่าง ๆ ใน 4 มิติ ได้แก่ 1. ความเสมอภาคด้านการมีส่วนร่วมและโอกาสทางเศรษฐกิจ (Economic Participation and Opportunity) 2. ความสำเร็จทางการศึกษา (Educational Attainment) 3. สุขภาพและการอยู่รอด (Health and Survival) และ 4. การส่งเสริมศักยภาพทางการเมือง (Political Empowerment) โดยหากมองในระดับภูมิภาค ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกมีความเท่าเทียมที่ร้อยละ 68.8 ซึ่งนับเป็นคะแนนสูงสุดอันดับ 5 จากทั้งหมด 8 ภูมิภาค โดยผู้หญิงในภูมิภาคนี้ต้องใช้เวลา 189 ปี จึงจะสามารถอุดช่องโหว่ความไม่เสมอภาคทางเพศได้ผลสำเร็จ
สภาเศรษฐกิจโลกขยับไทย5อันดับจากความเสมอภาคทางเพศในหลายมิติ - Post Today
Read More
No comments:
Post a Comment