Rechercher dans ce blog

Wednesday, July 26, 2023

Safe Sex Guide 101 มีเซ็กซ์อย่างปลอดภัย ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - ไทยรัฐ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ บางโรคสามารถรักษาให้หายได้ แต่สำหรับบางโรค ผู้ป่วยอาจต้องกินยาไปตลอดชีวิต ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยจึงเป็นเรื่องพื้นฐานที่ไม่ควรละเลยสำหรับคนทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่วัยรุ่น วัยทำงาน จนถึงวัยผู้สูงอายุ ความรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงความรู้ในเรื่องทางเพศของกลุ่มคนในวัยต่างๆ จึงมีความสำคัญ

การใช้ถุงยางอนามัย

  • ถุงยางอนามัย มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดถึง 98% หากใช้อย่างถูกวิธี
  • ถุงยางอนามัยช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ HIV 70-87% ในกลุ่มชายรักชาย และมากกว่า 90% ในกลุ่มคู่รักชายหญิง นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริม โรคตับอักเสบบี โรคหูดหงอนไก่ โรคหนองในแท้และเทียม โรคซิฟิลิส ได้ 50-90%

การใช้ คอนดอมนิ้ว (Finger condom)

มักใช้ในหลายสถานการณ์ เช่น ในการดูแลสุขภาพ การปฐมพยาบาล และกิจกรรมทางเพศ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือใช้ในการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
เมื่อใช้ถุงยางอนามัยแบบนิ้วสำหรับกิจกรรมทางเพศ ควรทิ้งทันทีหลังจากทำกิจกรรมเพียงครั้งเดียว จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค

ถุงยางอนามัยนิ้วช่วยการบาดเจ็บได้อย่างไร

สำหรับผู้ที่มีบาดแผล การใช้พลาสเตอร์ หรือผ้าพันแผลและใช้มือทำสิ่งต่างๆ เช่น พิมพ์งาน ล้างจาน กิจกรรมเหล่านี้อาจทำให้ผ้าพันแผลหลุดออก และแผลเกิดการติดเชื้อได้ 

ถุงยางอนามัยแบบนิ้วช่วยแก้ปัญหานี้ด้วยการปิดแผลในขณะที่ทำกิจกรรมที่อาจทำให้ผ้าพันแผลหลุดออก ตัวอย่างเช่น สามารถสวมถุงยางอนามัยก่อนล้างจาน หรืออาบน้ำ  

ถุงยางอนามัยนิ้วช่วยเรื่องสุขภาพทางเพศได้อย่างไร

การใช้นิ้วในระหว่างกิจกรรมทางเพศ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ‌ เนื่องจากมีการใช้นิ้วที่ทวารหนักแล้วเลื่อนนิ้วเดียวกันนั้นไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ในกรณีนี้ให้ถอดถุงยางอนามัยนิ้วออกหลังจากทำกิจกรรมทางเพศที่ทวารหนักไปแล้ว 1 ครั้ง และสวมถุงยางอนามัยใหม่ก่อนไปสัมผัสส่วนอื่น เพื่อให้มีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัย

มีความเสี่ยงในการใช้ถุงยางอนามัยแบบนิ้วหรือไม่

  • ไม่มีความเสี่ยงในการใช้ถุงยางอนามัยตามคำแนะนำ ยกเว้นกรณีแพ้ยาง เนื่องจากถุงยางอนามัยแบบนิ้วส่วนใหญ่ทำจากน้ำยาง 
  • มีความเสี่ยงที่ถุงยางอนามัยแบบนิ้วอาจหลุดและค้างอยู่ในร่างกายได้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าถุงยางอนามัยสวมนิ้วได้พอดีเมื่อสวมครั้งแรก ‌
  • หากถุงยางนิ้วค้างอยู่ในร่างกาย ให้ลองใช้นิ้วที่ล้างแล้วดึงออกมา หากไม่สามารถเอาออกได้ด้วยตัวเอง ให้รีบพบแพทย์ทันที 
  • ความเสี่ยงที่ถุงยางอนามัยนิ้วหลุดระหว่างมีเซ็กซ์นั้นมีอันตรายน้อยกว่าความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อันเนื่องมาจากการไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยแบบนิ้ว

การ Oral sex ทางทวารหนัก

Rimming หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า Anilingus เป็นการใช้ลิ้นทางทวารหนัก เพื่อให้ความพึงพอใจทางเพศ
การมีกิจกรรมแบบนี้อาจสร้างความเสี่ยงต่อการถ่ายทอดเชื้อโรค เช่น 

1. ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis A)
2. ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis B): โรคติดเชื้อที่สามารถถ่ายทอดผ่านเลือดและของเหลวต่างๆ ที่มีเชื้อ ซึ่งอาจติดเชื้อ E coli ที่อยู่ในอุจจาระ กรณีที่ทำความสะอาดทวารหนักไม่ดี เมื่อทำกิจกรรมด้วยลิ้นจะทำให้ท้องเสีย ติดเชื้อในลำไส้ได้
3. ติดเชื้อ Trichomoniasis โรคเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อ Trichomonas vaginalis
4. ติดเชื้อไวรัสเฮชพีวี
5. โรคหนองใน ในช่องปาก
6. โรคเอดส์ (HIV) 

การใช้ Dental Dam (แผ่นยางอนามัย) DO & DON’T ช่วยป้องกันโรคติอต่อทางเพศสัมพันธ์

  • ใช้ยางธรรมชาติ หรือโพลียูรีเทนใหม่ทุกครั้งที่คุณมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
  • อ่านบรรจุภัณฑ์และตรวจสอบวันหมดอายุ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีรอยฉีกขาด หรือข้อบกพร่อง
  • ใส่ก่อนเริ่มทำออรัลเซ็กซ์ และใส่จนกว่าจะเสร็จ
  • ใช้สารหล่อลื่นแบบน้ำ หรือแบบซิลิโคน เพื่อป้องกันการแตกหัก
  • เก็บแผ่นยางอนามัยไว้ในที่เย็นและแห้ง
  • อย่าใช้ซ้ำ
  • อย่าดึงยืด เพราะอาจทำให้ฉีกขาดได้
  • อย่าใช้ nonoxynol-9 (สารฆ่าเชื้ออสุจิ) ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคือง
  • อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ เช่น เบบี้ออยล์ โลชั่น ปิโตรเลียมเจลลี่ หรือน้ำมันปรุงอาหาร เพราะจะทำให้ฉีกขาดได้
  • อย่าทิ้งลงในชักโครก เพราะอาจอุดตันได้

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย สำหรับกลุ่มคนในวัยต่างๆ

  • เซ็กซ์ปลอดภัย สำหรับวัยรุ่น คลิกอ่านเพิ่มเติม
  • มีเพศสัมพันธ์ช่วงตั้งครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คลิกอ่านเพิ่มเติม
  • เซ็กซ์ไม่สะดุด หยุดปัญหาช่องคลอดแห้ง สำหรับผู้สูงอายุ คลิกอ่านเพิ่มเติม

อ้างอิง : 

  • https://ift.tt/dcD4LMt
  • https://ift.tt/USq2p0H
  • https://ift.tt/csmLBhI
  • https://ift.tt/bjoLwh9

บทความโดย : นต.พญ. ณัฐยา รัชตะวรรณ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีแพทย์ ด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธ์ และผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์

Adblock test (Why?)


Safe Sex Guide 101 มีเซ็กซ์อย่างปลอดภัย ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - ไทยรัฐ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...