Rechercher dans ce blog

Tuesday, July 25, 2023

คอลัมน์การเมือง - ทางแยก แยกทาง - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

เมื่อวาน พรรคเพื่อไทยล้มเลิกการประชุม 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลอย่างกะทันหัน

อ้างว่ายังไม่มีความคืบหน้าในงานที่ได้รับมอบหมายไป


มันเป็นสัญญาณอย่างอื่นไม่ได้ นอกจาก “ความลำบากใจ” ที่จะต้องแจ้ง “ข้อมูล” อย่างเอกฉันท์

หรือจะเรียกว่าเป็น “ฉันทามติ” จากพรรคการเมืองอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 8 พรรคร่วมเดิม

เพราะพรรคการเมืองทุกพรรค ระบุตรงกันว่า หากยังมีพรรคก้าวไกลร่วมรัฐบาล ย่อมไม่สามารถสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลได้ เพราะอาจยอมรับแนวคิด แนวทางการทำงาน โดยเฉพาะแนวทางต่อมาตรา 112 และจุดยืนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของพรรคก้าวไกล

ดังนั้น มองไปข้างหน้า การเมืองไทยถึงทางแยก หรือการแยกทาง อย่างไรบ้าง?

1. 8 พรรคยังจับมือ เดินหน้าเสนอแคนดิเดตนายกฯจากพรรคเพื่อไทย

เท่ากับ เสนอชื่อไปทิ้งน้ำ

เพราะนอกจาก 312 เสียงเดิมแล้ว ไม่มีเสียง สส. พรรคอื่นๆมาสนับสนุนเพิ่ม

และคงจะได้เสียงจาก สว.ไม่เพียงพอแน่นอน

2. พรรคเพื่อไทย สลัดทิ้งก้าวไกล จับขั้วใหม่ และเสนอแคนดิเดตนายกฯจากพรรคเพื่อไทย

ต้องดูว่าชื่อ นายกฯ นั้น คือ ชื่อไหน?

มีจุดยืนต่อมาตรา 112 อย่างไร?

นายเศรษฐา ทวีสิน เคยถูกสื่อมวลชนถามจุดยื่นก่อนเลือกตั้ง ยืนยันว่า “แก้ 112 แต่ไม่ยกเลิก”

ซึ่งจุดยืนเช่นนี้ ขัดแย้งกับท่าทีล่าสุดของพรรคเพื่อไทย

เป็นบุคคลที่สมควรให้ความเห็นชอบเป็นนายกฯ หรือไม่?

เป็นที่ไว้วางใจได้หรือไม่? จริงใจต่อสถาบันหลักของชาติ หรือไม่?

3. หากพรรคอันดับ 1 และ อันดับ 2 จัดตั้งฐบาลไม่ได้ ส่งไม้ต่อพรรคอันดับ 3 (ตามที่ นพ.ชลน่านกล่าว)

เมื่อพรรคภูมิใจไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ก็จะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไข แนวทางหลัก

แน่นอนว่า จะต้องเชื้อเชิญพรรคเพื่อไทยเข้าร่วม เพราะภูมิใจไทยเคยประกาศว่าจะไม่ตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย

“ภูมิใจไทย-พลังประชารัฐ-เพื่อไทย” 3 พรรคนี้ มีจำนวน สส. รวมกัน 252 เสียง เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร

ยังไม่นับ รวมไทยสร้างชาติ ชาติไทยพัฒนา ชาติพัฒนากล้า ประชาชาติ ฯลฯ

และมีโอกาสได้เสียงสนับสนุนจาก สว.ล้นหลาม เพราะไม่มีเงื่อนไขอื่นใดแล้ว

4. “ทางแยก” ที่ 2 และ 3 ข้างต้น มันหมายถึงการต้อง “แยกทาง”ระหว่างพรรคเพื่อไทย กับพรรคก้าวไกล

ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ทั้งสองพรรคนี้ มีการแข่งขันแย่งฐานเสียงกันเองมาโดยตลอด

เลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ก้าวไกลโจมตีเพื่อไทยอย่างรุนแรง หยาบคาย

พรรคเพื่อไทยพลาดเป้า ไม่แลนด์สไลด์ บางพื้นที่เสียให้กับก้าวไกล

ทั้งสองพรรค ต้องแข่งขันกันเองในทางการเมือง ยากจะร่วมงานกันอย่างราบรื่นอย่างแน่นอน

5. ยิ่งไปกว่านั้น การเมืองไทยถึงจุดที่จะต้อง “แยกทาง” ระหว่าง “พรรคแก้ 112” กับ “พรรคไม่แก้ 112”

โดยพรรคแก้ 112 นั้น ส่อแสดงเจตนาผ่านพฤติการณ์หลายครั้งหลายหนว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น สนับสนุนม็อบด่าในหลวง คอยให้ สส. ไปช่วยประกันตัว ไม่คอยห้ามปรามม็อบสามนิ้วด้อมส้มที่ไประรานคนอื่นเลย มีนโยบายจะแก้ 112 เพื่อลดการคุ้มครองสถาบัน จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมคนทำผิด 112 ฯลฯ

ส่วนพรรคไม่แก้ 112 ชัดเจนที่สุด คือ ขั้วรัฐบาลเดิม หรือขั้ว 188 เสียงสส. ในปัจจุบันนั่นเอง

ขั้วนี้ จุดยืนชัดเจน สอดคล้องตรงกัน ในประเด็นการปกป้องสถาบัน

ไม่แก้มาตรา 112

ไม่สนับสนุนพรรคแก้ 112 เป็นรัฐบาล

เพราะฉะนั้น การเมืองไทยถึงเวลาแบ่งขั้วชัดๆ ไปเลย คือ พรรคเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบัน กับพรรคปกป้องสถาบัน !

6. ล่าสุด พรรคไทยสร้างไทย ซึ่งอยู่ใน 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลก็ออกมาประกาศ ไม่สนับสนุนการแก้ 112

7. พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ ยืนยันว่า จะเสนอให้เพื่อไทยร่างเอ็มโอยูใหม่ เนื่องจากเปลี่ยนแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแล้ว

พร้อมแนะก้าวไกลให้วางเฉย อย่าไปก้าวก่ายพรรคเพื่อไทย

แถมยังเปิดเผยเองว่า ตอนที่พรรคก้าวไกลไปชวนมาร่วมจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคนั้น เลขาธิการพรรคก้าวไกลยื่นข้อเสนอให้ตนเองเป็นรองนายกฯ ด้วย

นอกจากนี้ ยังบอกด้วยว่า ถ้าได้เป็นรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง จะจัดการม็อบทะลุวังที่ไปบุกพรรคเพื่อไทยตามกฎหมาย ชี้ว่าพฤติกรรมเป็นเผด็จการนอกสภาฯ ไม่อยู่ในกติกาที่วางไว้ แนะให้ก้าวไกลปิดตาบ้าง ต้องห้ามด้อมส้มไปชุมนุมและอย่าไปสนับสนุน

8. จะเห็นได้ว่า พรรคการเมืองที่ไม่ยอมรับความเป็นจริง ว่าตนเองไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ควรถอยออกไป เพื่อให้บ้านเมืองเดินต่อ

คือ พรรคก้าวไกล

เป็นการเมืองโฉมใหม่จริงๆ คือ กล้าประกาศว่าจะทำตัว “หน้าด้าน”เกาะเพื่อไทยเป็นรัฐบาล

ไม่สนว่า พรรคอื่นๆ เขาไม่ต้องการร่วมรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล ก็เพราะแนวคิดแนวทางของก้าวไกลไม่ตรงกับพรรคอื่นๆ ที่เหลือ ซึ่งเป็นเสียงข้างมากแท้จริงในสังคมไทย

เห็นแก่ตัวถึงขนาดสร้างกระแสว่าจะต้องรอ 10 เดือน คือ ข้ามไปปีหน้าเพื่อให้ สว.ไม่ได้ร่วมเลือกนายกฯ ก็จะทำตัวเป็นจระเข้ขวางคลองต่อไปอย่างนี้

ทั้งๆ ที่ ประเทศไทยมีระบบการเลือกนายกฯ มีกติกาชัดเจนมาตั้งแต่ต้น

และโดยธรรมเนียมปฏิบัติ เมื่อพรรคอันดับหนึ่งจัดตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จ ก็ต้องปล่อยมือให้พรรคอันดับถัดไปจัดตั้งรัฐบาลไปเรื่อยๆ ใครจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จก็ยินดีด้วย ให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อ

ทุกฝ่าย ก็ไปทำหน้าที่ของตนเอง ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ล้วนแต่มีความสำคัญ

มันไม่ใช่การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยหรือประชาชน แต่เป็นความหน้าด้าน เห็นแก่ตัวอย่างเลวทรามที่สุด ที่พรรคการเมืองที่จัดตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จไปแล้ว จะขวางทางไปต่อของประเทศ ทั้งๆ ที่ พรรคการเมืองอื่นๆ ยังมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลได้

น่าผิดหวังมากสำหรับพรรคที่สร้างภาพว่าจะสร้างการเมืองบรรทัดฐานใหม่ที่ดีงาม

9. อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่มีรัฐบาลชุดใหม่

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็ยังต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

เพียงแต่บ้านเมืองจะเสียโอกาสก็ตรงที่เป็นรัฐบาลที่ไม่มีอำนาจเต็ม

แบบนี้ ให้รัฐบาลลุงตู่มีอำนาจเต็มไปเลยยังจะดีเสียกว่า ถ้าจะต้องอยู่อีก 10 เดือน ตามที่ฝ่ายไม่เอาลุงตู่ประกาศจริงๆ !!!!

สารส้ม

Adblock test (Why?)


คอลัมน์การเมือง - ทางแยก แยกทาง - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...