หลายประเทศในยุโรป ระงับการฉีด "วัคซีนโควิด" ของแอสตราเซเนกา หลังฉีดไปแล้ว 5 ล้านคน พบว่า 30 คน เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันแข็งตัว และหนึ่งในนั้นเสียชีวิต ทำให้ไทยเป็นชาติแรกในเอเชีย เลื่อนการฉีดวัคซีนของ "แอสตราเซเนกา" และเป็นเหตุผลต้องยกเลิกการฉีดให้กับนายกรัฐมนตรี และคณะ จากกำหนดเดิมเมื่อวันศุกร์ที่ 12 มี.ค. ที่ผ่านมา
แม้ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบหาสาเหตุ ยังไม่มีข้อสรุปภาวะ "ลิ่มเลือดอุดตัน" เป็นผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนหรือไม่ โดยบริษัทแอสตราเซเนกา ออกมายืนยันวัคซีนมีความปลอดภัย เช่นเดียวกับองค์การอนามัยโลก ระบุไม่มีเหตุผลที่จะหยุดฉีดวัคซีน ซึ่งทั่วโลกขณะนี้มีการฉีดไปแล้วมากกว่า 330 ล้านโดส
ข่าวแนะนำ
แต่ผลจากการที่ไทย เลื่อนฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกา ทำให้คนไทยจำนวนหนึ่งเกิดความสับสน ไม่มั่นใจจะเข้ารับการฉีด"วัคซีนโควิด" และเพื่อให้หลายคนคลายความวิตกกังวล ทาง “ทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์” ไขข้อข้องใจในประเด็นนี้ ตอกย้ำว่าการฉีดวัคซีนโควิดมีความจำเป็นต้องฉีด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ภายในประเทศ และเตรียมพร้อมในการเปิดประเทศเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่ให้ย่ำแย่ไปกว่านี้
พร้อมยิงคำถามแรกจะฉีดวัคซีนโควิดหรือไม่? กับ "ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา" ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือไบโอเทค ในฐานะนักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ซึ่งตอบอย่างไม่ลังเล ว่า ฉีดแน่นอน ไม่อยากให้คนไทยกลัววัคซีน มากกว่าโควิด และขอยืนยันวัคซีนโควิดมีประโยชน์มากกว่าโทษ หากปล่อยให้คนป่วยเป็นโควิดแล้ว วัคซีนจะแก้ไขไม่ได้ โดยส่วนตัวเห็นว่าควรต้องฉีดวัคซีน และกรณีกังวลไม่มั่นใจ ให้รอดูผลจากทางยุโรปก็ได้ แต่คิดว่าไม่มีผลอะไรเกี่ยวเนื่องกัน หากกลัววัคซีนของแอสตราเซเนกา สามารถเลือกฉีดตัวอื่นได้ ถ้าอนาคตไทยนำเข้ามาเพิ่มเติม
ประเด็นความเสี่ยงเกิดภาวะลิ่มเลือดแข็งตัว จากการติดโควิดยอมรับว่ามีสูง ต้องทำให้ตัวเองมีภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน ซึ่งวัคซีนทุกค่ายจะสามารถช่วยให้ไม่ป่วยหนัก และลดความเสี่ยงได้ อย่าเอาความกลัวในกรณีของวัคซีนแอสตราเซเนกา มาทำให้ไม่อยากฉีดวัคซีน เพราะหากติดโควิดและป่วยรุนแรง จะทำให้ลิ่มเลือดแข็งตัวได้สูงถึง 4% มีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก แต่หากป่วยโควิดไม่หนัก ภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวจะสูงกว่าปกติอยู่แล้ว ประมาณ 1.5-2%
“การเลื่อนฉีดวัคซีนให้นายกฯ เนื่องจากสาเหตุนี้ ยังไม่มีใครรู้สาเหตุว่าเลือดแข็งตัวเกี่ยวอะไรกับวัคซีนหรือไม่อย่างไร และการที่ผู้เชี่ยวชาญของไทยออกมาอธิบายเป็นฉากๆ ตอนนี้เป็นแค่ความคิดเห็น ไม่ใช่ข้อเท็จจริง อย่ารีบเอาไปอ้างอิง ควรดูผลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันจะดีกว่า”
ขณะที่ ข้อมูลประเทศยุโรปมีการฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกา จำนวน 5 ล้านคน พบอาการลิ่มเลือดแข็งตัว 30 คน เท่ากับมีความเสี่ยง 30 ใน 5 ล้าน แต่ข้อมูลผู้ป่วยโควิดโดยรวมประมาณ 1 กว่าเกือบ 2% และผู้ป่วยหนัก 3.5% หรือประมาณมากกว่า 100,000 คน ใน 5 ล้านคน ซึ่งตัวเลขชี้ชัดเจนว่า วัคซีนช่วยได้ และส่วนตัวมองว่าการฉีดวัคซีนมีความจำเป็น ไม่ควรเสียเวลากับอะไรที่ไม่มีหลักฐานรองรับชัดเจน.
อ่านเพิ่มเติม...
เปิดทางเลือก ฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีน เตือนป่วยโควิดหนัก เสี่ยงสูง "ลิ่มเลือดอุดตัน" - ไทยรัฐ
Read More
No comments:
Post a Comment