ร้านสะดวกซื้อเจ้าใหญ่ของญี่ปุ่นอย่าง 7/อีเลเว่น เลิกขาย“ไก่ย่างเสียบไม้”ของว่างยอดฮิตในภูมิภาคต่างๆขณะที่ร้านอาหารบางแห่งจำกัดการเสนอเมนูจากเนื้อไก่ให้เหลือแค่ไก่ย่างแค่1ไม้สำหรับผู้ค้า1คน
ไก่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในปัญหาการขาดแคลนเนื้อสัตว์ชนิดนี้ในญี่ปุ่นที่มีที่มาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กำลังเผชิญปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19จนส่งผลให้โรงงานผลิตไก่แปรรูปหลายแห่งในประเทศไทยไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันกับความต้องการของลูกค้า แต่ไวน์ กุ้ง และสินค้าอื่นๆก็หายากมากขึ้นและมีราคาแพงขึ้นเป็นแนวโน้มที่บั่นทอนความหวังที่จะกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคอย่างมาก
การเดินทางของผู้บริโภคในญี่ปุ่นเริ่มกลับมาคึกคักตั้งแต่ทางการยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินแต่ก็ทำให้เกิดปัญหายุ่งยากใจที่เกิดจากการพยายามสร้างสมดุลระหว่างความต้องการกับปริมาณสินค้าที่มีหมุนเวียนในอุตสาหกรรมอาหาร เพราะขณะที่เมืองต่างๆเริ่มผ่อนคลายกฏข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ตามร้านาหารและร้านจำหน่ายสุรา เครือข่ายร้านขายยากิโทริไก่แห่งหนึ่งต้องบอกลูกค้าว่ามีไก่ไว้บริการลูกค้าแค่คนละ 1ไม้เล็กๆเท่านั้น
“เราจำเป็นต้องคิดเรื่องเปลี่ยนซัพพลายเออร์ใหม่”โฆษกร้านยากิโทริ กล่าว
ปัญหาขาดแคลนเนื้อไก่บีบบังคับให้ร้านยากิโทริบางแห่งหันมาเสนอเมนูที่จำกัดแค่เนื้อไก่หนึ่งไม่ต่อลูกค้าหนึ่งคน ส่วนเครือข่ายร้านอาหารอิตาลีอย่าง“ไซเซอริยา”ลดปริมาณของไก่ในเมนู“ไก่สไปซี”ซึ่งเป็นเมนูยอดนิยมตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย.ทำให้แทนที่ลูกค้าจะได้ทานเนื้อไก่ 5 ชิ้นใน1จานกลับเหลือแค่4ชิ้นเท่านั้น
ส่วนการขาดแคลนเนื้อไก่ที่มีปัญหาจากประเทศไทยนั้นมีสาเหตุมาจากการขาดแคลนแรงงานอพยพจากประเทศเพื่อบ้านของไทยส่งผลให้โรงงานแปรรูปเนื้อไก่หลายแห่งยังไม่สามารถกลับมาเดินสายการผลิตได้อย่างเต็มที่ได้
ขณะที่วิกฤตด้านการขนส่งสินค้าทางเรือเพราะท่าเรือมีผู้ใช้บริการหนาแน่น ประกอบกับการขาดแคลนคอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าจึงทำให้ปัญหารุนแรงหนักขึ้น โดยอะกริคัลเจอร์ แอนด์ ไลฟ์สต็อก อินดัสตรีส์ คอร์ป ระบุว่า ไก่นำเข้าในคลังสินค้าญี่ปุ่นช่วงเดือนส.ค.ลดลง 20% จากระดับของปีก่อนหน้านี้
“สินค้าบางตัวหมดไปจากสต็อกตั้งแต่เดือนก.ย.”แหล่งข่าวรายหนึ่ง กล่าว
“ นิชิเรอิ” ผู้จำหน่ายอาหารแช่แข็ง พยายามดิ้นรนเพื่อหาแรงงานชาวกัมพูชามาทำงานที่โรงงานผลิต ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยในไทยมานานแล้ว ขณะที่การใช้ประโยชน์ของโรงงานลดลง บังคับให้บริษัทเตรียมขายไก่แช่แข็งให้แก่ตลาดต่างๆในปริมาณที่จำกัดมากขึ้น
ซึ่งปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อบริษัทอื่นๆในอุตสาหกรรมอาหารด้วยเช่นกัน ทั้งนิปปอน ซุยซัน ไคชา และอายิโนะโมโตะ โฟรเซน ฟู้ดส์
ปัญหาความล่าช้าด้านการขนส่งสินค้าทางเรือส่งผลกระทบไปยังอุตสาหกรรมอาหารอื่นๆด้วย เช่นต้นเดือนที่ผ่านมา เคเอฟซี เลิกขายเฟรนช์ฟรายส์ในร้านสาขาที่ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงโตเกียวประมาณ 20% เพราะปัญหาความล่าช้าในการขนส่งมันฝรั่งก่อนจะกลับมาขายอีกครั้งในวันศุกร์(22ต.ค.)
ส่วน“มารูฮะ นิชิโร”ผู้จัดส่งอาหารทะเลเจอปัญหากุ้งนำเข้าส่งมาจากโรงงานแปรรูปกุ้งในเวียดนามที่ล่าช้าหลายวัน จากปกติจะใช้เวลา22 วันกว่าที่ผลผลิตจะเดินทางถึงญี่ปุ่น แต่ตอนนี้บริษัทระบุว่าการส่งกุ้งล่าช้าไปจากเดิมประมาณ10วัน-2สัปดาห์
ด้านเมอร์เซียน กลุ่มบริษัทเครื่องดื่ม ตัดสินใจเลิกขายไวน์แฟรนเซีย 10 ตั้งแต่ต้นเดือนก.ย.และคาดว่าจะเริ่มกลับมาจำหน่ายใหม่ในเร็วๆนี้ แต่บริษัทยังไม่เห็นว่าจะมีไวน์ในสต็อกเพียงพอกับความต้องการของลูกค้าในอนาคต
ผู้สังเกตุการณ์ส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารมองว่าปัญหาความวุ่นวายในระบบห่วงโซ่อุปทานจะยืดเยื้อขณะที่การหวนกลับมาแพร่ระบาดอย่างรุนแรงอีกครั้งของโรคโควิด-19ในฤดูหนาวยิ่งทำให้แนวโน้มมีความไม่แน่นอนมากขึ้น
“วาตามิ” ผู้ให้บริการด้านร้านอาหาร กล่าวว่า โดยทั่วไปแล้วเครือข่ายร้านอาหารขนาดใหญ่จะทำสัญญากับบรรดาซัพพลายเออร์ทั้งในระยะกลางและระยะยาว และพวกเขาจะมีผู้ซื้อในปริมาณมากที่มีอำนาจต่อรองสูง
แต่ถ้าราคาสินค้ายังแพงอยู่ไปแบบนี้ 6 เดือนหรือตลอดทั้งปี ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า
วิกฤติขนส่งสินค้าทางเรือทุบธุรกิจเนื้อไก่-ไวน์ในญี่ปุ่น - กรุงเทพธุรกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment